ชุดเอกสารจดหมายเหตุ

เงินเฟ้อและการแก้ปัญหาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

การที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรออกใช้เป็นจำนวนมากจนเกินกว่าปริมาณสินค้าในช่วงสงครามซึ่งเป็นช่วงที่สินค้าขาดแคลน เนื่องจากการผลิตหยุดชะงักไป แรงงาน และวัตถุดิบถูกย้ายไปผลิตยุทโธปกรณ์และทำการรบ ประกอบกับการกักตุนสินค้าไว้ขายในราคาสูง ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อซึ่งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเงินไทย โดย มจ. วิวัฒนไชย ไชยันต์ ทรงเห็นว่า สาเหตุของปัญหานี้มาจากปัจจัย 3 ประการ คือ ประการแรก การใช้จ่ายของทหารญี่ปุ่น ประการที่สอง รัฐบาลจ่ายเงินเกินกว่ารายได้ (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-001 เรื่อง ญี่ปุ่นตกลงไห้ไทยกู้เงิน 200 ล้านเย็น (ข่าวตัดหนังสือพิมพ์) และเอกสารเลขที่ DAC004-000-002 เรื่อง พระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อความมั่นคงแห่งเงินตราและการอื่น ๆ พุทธสักราช 2485 ซึ่งได้ทำให้เงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา) และ ประการสุดท้าย อัตราแลกเปลี่ยนกับเงินเยนที่เปลี่ยนมามีค่าเท่ากันจากก่อนหน้านี้ที่เงินบาทมีค่าสูงกว่า และทรงบันทึกถึงหลักการแห่งการป้องกันภาวะเงินเฟ้อไว้ 2 ประการ คือ ต้องดึงเงินจากมือประชาชนมาเข้าคลัง และควบคุมเครดิตไม่ให้เกินกว่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่ออำนาจการซื้อที่อยู่ในมือประชาชนจะลดน้อยลง ระดับราคาสินค้าก็จะพุ่งขึ้นเร็วไม่ได้ และเมื่อดึงเงินเข้าคลังได้แล้ว ธนบัตรออกใช้จะไม่เพิ่มมากและรวดเร็ว อาการเงินเฟ้อจะไม่รุนแรง (สอดคล้องกับเอกสารเลขที่ DAC004-000-003 เรื่อง รายงานการประชุมคนะกัมการพิเสสไนกะทรวงการคลัง เอกสารเลขที่ DAC004-000-008 เรื่อง หลักการและวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ เอกสารเลขที่ DAC004-000-009 เรื่อง ข้อเสนอของคนะกัมการเรื่องวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ และเอกสารเลขที่ DAC004-000-012 เรื่อง รายงานอนุกรรมการพิจารณาวิธีบรรเทาเงินเฟ้อ) การดึงเงินออกจากมือประชาชนอาจทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ในปี 2486 ทางการได้ดึงเงินจากมือประชาชนเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ โดยกำหนดให้ข้าราชการที่มีเงินเดือนสูงเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร เพื่อรับเงินเดือนโดยใช้วิธีเครดิตบัญชี ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน ทางการตั้งใจดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจด้วยวิธีกู้เงินจากประชาชน โดยกระทรวงการคลังออกเงินกู้เพื่อชาติ 30 ล้านบาท (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี มีกำหนดไถ่ถอน 8 ปี) หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า “พันธบัตรทองคำ” ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องการรวมพันธบัตรนี้อยู่ในพระราชบัญญัติควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2486 หรือไม่ และจบลงด้วยการยอมรับว่าอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตินี้ (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-011 เรื่อง พันธบัตรออมทรัพย์) นอกจากจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบแล้ว ธปท. ยังได้ดูแลการเติบโตของเครดิตของธนาคารพาณิชย์ โดยรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2486 (เป็น พ.ร.ก. เนื่องจากเป็นยามฉุกเฉินจึงไม่สามารถจะเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2486 บังคับให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองไว้ในเป็นจำนวนตามแต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเป็นคราว ๆ ไป และกำหนดให้ถือพันธบัตรรัฐบาลเป็นสัดส่วนของเงินฝากตามที่กำหนด (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-004 เรื่อง การควบคุมเครดิตและพระราชกำหนดควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน) อย่างไรก็ตาม พระราชกำหนดฉบับนี้ไม่ได้รับการอนุมัติเมื่อมีการเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการพิจารณาออกเป็นพระราชบัญญัติ (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-005 เรื่อง สภาผู้แทนราสดรไม่อนุมัติพระราชกำหนดควบคุมเครดิต) เนื่องจาก ไม่รับหลักการในมาตรา 4 ซึ่งค่อนข้างที่จะเข้มงวดกับธนาคารต่าง ๆ มากเกินไป จึงมีการตัดบางส่วนของมาตรา 4 ออกไป และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับใหม่ที่ต่างจากพระราชกำหนดเดิมแทน (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-006 เรื่อง บันทึกเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติใหม่) เป็นพระราชบัญญัติควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2486 (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-007 เรื่อง พันธบัตรออมทรัพย์เป็นพันธบัตรตามพระราชบัญญัติควบคุมเครดิต) แม้จะมีมาตรการกันเงินเฟ้อมากมายหลายวิธีดังที่กล่าวข้างต้น การยับยั้งการเพิ่มของปริมาณเงินและการควบคุมเครดิตได้ผลเพียงชั่วคราว เพราะการใช้จ่ายของทหารญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นแรงผลักดันให้เกิดเงินเฟ้ออย่างที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ (ตัวอย่าง ตามเอกสารเลขที่ DAC004-001-013 เรื่อง บันทึกเรื่องเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการทหารญี่ปุ่น งวดมกราคม-มิถุนายน 2488 และเอกสารเลขที่ DAC004-001-014 เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการทหารญี่ปุ่น งวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2488 ที่แสดงให้เห็นถึงปริมาณการใช้จ่ายของกองทัพญี่ปุ่นในไทย และความวิตกต่อปัญหาเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นตามมา) โดยดูได้จากอัตราเงินเฟ้อในช่วงสงครามที่เพิ่มสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณการออกธนบัตร แต่หากทางการไม่มีมาตรการต่าง ๆ ย่อมทำให้ค่าครองชีพและราคาสินค้าสูงขึ้นกว่าที่เป็น นอกจากนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาหลังสงครามสิ้นสุดลง ในกรณีที่ผู้ชนะสงครามจะเข้ามายืดครองดินแดนที่เป็นฝ่ายแพ้สงครามว่า มีความเป็นไปได้ในลักษณะใดบ้าง เพื่อให้ทางการไทยเตรียมตัวรับมืออย่างทันท่วงที (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-010 เรื่อง เงินค่าใช้จ่ายไนกรณีที่มีการยืดครองดินแดน) และปัญหาเงินเฟ้อก็ยังคงมีต่อไปแม้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้วก็ตาม (ตามเอกสารเลขที่ DAC004-000-015 เรื่อง การบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ปัญหาเงินเฟ้อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 • สาเหตุ o การใช้จ่ายของทหารญี่ปุ่น DAC004-001-013 เรื่อง บันทึกเรื่องเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการทหารญี่ปุ่น งวดมกราคม-มิถุนายน 2488 DAC004-001-014 เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการทหารญี่ปุ่น งวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2488 o รัฐบาลจ่ายเงินเกินกว่ารายได้ DAC004-000-001 เรื่อง ญี่ปุ่นตกลงไห้ไทยกู้เงิน 200 ล้านเย็น DAC004-000-002 เรื่อง พระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อความมั่นคงแห่งเงินตราและการอื่น ๆ พุทธสักราช 2485 o อัตราแลกเปลี่ยนกับเงินเยนที่เปลี่ยนมามีค่าเท่ากันจากก่อนหน้านี้ที่เงินบาทมีค่าสูงกว่า • วิธีแก้ปัญหา o ต้องดึงเงินจากมือประชาชนมาเข้าคลัง ดึงเงินจากมือประชาชนเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ • DAC004-000-003 เรื่อง รายงานการประชุมคนะกัมการพิเสสไนกะทรวงการคลัง • DAC004-000-008 เรื่อง หลักการและวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ • DAC004-000-009 เรื่อง ข้อเสนอของคนะกัมการเรื่องวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ • DAC004-000-012 เรื่อง รายงานอนุกรรมการพิจารณาวิธีบรรเทาเงินเฟ้อ ดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจด้วยวิธีกู้เงินจากประชาชน โดยกระทรวงการคลังออกเงินกู้เพื่อชาติ 30 ล้านบาท • DAC004-000-011 เรื่อง พันธบัตรออมทรัพย์ o ควบคุมเครดิตไม่ให้เกินกว่าที่จำเป็นจริง ๆ พระราชกำหนดควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2486 • DAC004-000-004 เรื่อง การควบคุมเครดิตและพระราชกำหนดควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พระราชบัญญัติควบคุมเครดิตในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2486 • DAC004-000-005 เรื่อง สภาผู้แทนราสดรไม่อนุมัติพระราชกำหนดควบคุมเครดิต • DAC004-000-006 เรื่อง บันทึกเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติใหม่ • DAC004-000-007 เรื่อง พันธบัตรออมทรัพย์เป็นพันธบัตรตามพระราชบัญญัติควบคุมเครดิต • เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหลังสงคราม o DAC004-000-010 เรื่อง เงินค่าใช้จ่ายไนกรณีที่มีการยืดครองดินแดน o DAC004-000-015 เรื่อง การบรรเทาปัญหาเงินเฟ้อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เลขชุดเอกสาร
DAC004
ชื่อชุดเอกสาร
เงินเฟ้อและการแก้ปัญหาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ช่วงปีของชุดเอกสาร
1942 1948
จำนวนแผ่นเอกสาร
1
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้