หอจดหมายเหตุ

หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย เก็บรักษาเอกสารมีคุณค่าที่เกิดจากการดำเนินภารกิจทุกด้านของธนาคาร ตั้งแต่จัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย พ.ศ. 2483 ทั้งที่เป็นต้นฉบับลายมือ เอกสารตัวพิมพ์ เอกสารดิจิทัล ภาพถ่าย แบบแปลน มัลติมีเดีย และสื่ออื่น ๆ ไว้เพื่อนำมาใช้อ้างอิงและเป็นหลักฐานในการกำหนดนโยบาย การบริหารงาน และการดำเนินงานของธนาคาร ตลอดจนเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิสำหรับการค้นคว้าวิจัยในสาขาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย

 
เดินทางมาที่นี่
ข่าวและกิจกรรม
จดหมายเหตุเล่าเรื่อง
การเสวนา "มองอนาคตด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์ : บทบาทของจดหมายเหตุ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย
เสวนาวิชาการ เรื่อง "มองอนาคตด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์ : บทบาทของจดหมายเหตุ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโดย หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมจดหมายเหตุไทย  ณ ห้องบรรยาย @BOT ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู
กว่าจะได้วังบางขุนพรหม โดย เลขาฯ กำพร้านาย
เมื่อได้มีพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2485 นั้น พิธีเปิดที่ทำการธนาคารชาติแห่งนี้ มิได้กระทําในอาคารของธนาคารกลาง หรือสถานที่ของทางราชการแห่งอื่นใดยิ่งไปกว่าที่อาคารของธนาคารพาณิชย์ธรรมดา ๆ คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จํากัด ซ
ทำไมผมจึงทำงานที่ธนาคารชาติ โดย พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์
"...พวกเราที่ถูกยืมตัวมาจากหน่วยราชการต่าง ๆ ถูกถามว่าจะสมัครใจ กลับกรมกองเดิมหรือจะสมัครใจเป็นพนักงานของธนาคารต่อไป ผมและเพื่อน ๆ ส่วนใหญ่แสดงความจํานงจะอยู่กับธนาคาร ....."ภายหลังที่ผมสอบมัธยมปีที่ 8 (แผนกกลาง) ที่โรงเรียนสวนกุหลาบในปีการศึกษา พ.ศ.
กว่าจะเห็นโรงพิมพ์ธนบัตร โดย สุรพล เย็นอุรา
แหล่งผลิตยามศึกวิธีขจัดปัดเป่าปัญหาความ ขาดแคลนธนบัตรของไทยเราในห้วงเวลาแห่งสงคราม นับได้ว่า ควรแก่ความสนใจไม่น้อย ทั้งคำตอบและคำอธิบายต่อไปนี้ของคุณสุบิน เชื้อสมบูรณ์ จากการย้อนรำลึกกลับไปสู่อดีตแต่สี่สิบกว่าปีก่อน นับได้
เริ่มเมื่อ 10 ธ.ค. 85 โดย พนักงานลำดับที่ 7
เรื่องที่จะเล่าสู่กันฟังนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2485 (เมื่อ 30 ปีมาแล้ว) ซึ่งเป็นวันทําพิธีเปิดดําเนินธุรกิจ ธปท. ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และวันนั้นก็ตรงกับวันสําคัญของชาติเพราะเป็นวันรัฐธรรมนูญ ตัวตึกอันสง่างามใ
ชุดเอกสาร
การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในยุคพัฒนาเศรษฐกิจ (ยุคอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์)

ในระหว่างปี 2498 - 2514 ได้มีการวางรากฐานทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศให้มีความมั่นคงอันนำไปสู่เสถียรภาพทางการเงิน ควบคู่ไปกับนโยบายของรัฐบาลในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความทันสมัย จนนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับเสถียรภาพทางการเงิน ขณะที่ระบบการเมืองและรัฐบาลที่มั่นคงมีส่วนช่วยให้ระบบเศรษฐกิจการเงินพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 1-2 และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

วิกฤตการณ์น้ำมันปี 2516 กลุ่มโอเปคขึ้นราคาน้ำมันถึง 4 เท่า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 24 ต่อมาในปี 2522 เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลกระทบต่อไทยรุนแรงกว่าครั้งแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะซบเซา ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาเงินเฟ้อและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อระดมเงินออมและแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องระบบการเงิน รวมทั้งลดค่าเงินบาทเพื่อการค้าระหว่างประเทศให้มีการส่งออกมากขึ้น

ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้