ชุดเอกสารจดหมายเหตุ

แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 1-2

เพื่อพัฒนาให้สถาบันการเงินในประเทศมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการ บริการทางการเงินของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เอื้อต่อการพัฒนาประเทศและกระจายโอกาสให้ประชาชนทั้งในเมืองและในชนบท ธปท. จึงให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบสถาบันการเงิน ซึ่งส่งผลให้สถาบันการเงินไทยมีความแข็งแกร่งขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 สถาบันการเงินในประเทศขณะนั้นยังอ่อนแออยู่มาก หากดำเนินการจัดระเบียบโดยมีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด กฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดนี้จะยิ่งรัดตัวสถาบันการเงินให้ยิ่งอ่อนแอลงไปอีก ธปท. จึงเริ่มโดยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์บางประการ เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปรับตัวได้ เติบโตได้ และทำกำไรได้ จนเมื่อฐานะแข็งแรงพอแล้วจึงเริ่มการจัดระเบียบสถาบันการเงินอย่างจริงจัง โดยจุดเปลี่ยนสำคัญเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2547 อันเป็นปีที่เริ่มแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 1 (2547 - 2551) (DAC022-000-001 การประชุม Master Plan Of Institution System DAC022-000-002 การปรับปรุงรูปแบบและบทบาทสถาบันการเงินไทย และต่างประเทศ DAC022-000-003 แนวนโยบายการกำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน DAC022-000-004 ข้อมูลการควบกิจการของสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน DAC022-000-005 ปาฐกถาพิเศษเรื่อง นโยบายการรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน DAC022-000-006 ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ "การลดต้นทุนของระบบสถาบันการเงิน") แนวคิดของการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินขึ้นมาใหม่ในขณะนั้น เนื่องจากจำนวนสถาบันการเงินที่ดำเนินการในประเทศ ทั้งของไทยและของต่างชาติ ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สาขาธนาคารพาณิชย์ มีจำนวนมากเกินไป และมีความซ้ำซ้อนกันมากจากการมีสถาบันการเงินหลากหลายประเภทที่ให้บริการแบบเดียวกันกับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ในระบบ สถาบันการเงินควรจัดระเบียบใหม่โดยแยกออกให้มีเพียงสองชนิดเพื่อความชัดเจนขึ้น ในด้านสถาบันการเงินของไทย คือ ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ (ธ.พ.) และธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธ.ย.) ในประเภทแรกนี้จะสามารถให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม และทำธุรกรรมทางการเงินได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นการออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือประกันชีวิต การรับประกันการจำหน่าย (Underwrite) ตราสารทุนและการเป็นนายหน้าและผู้ค้าตราสารทุน ในส่วนของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเป็นสถาบันการเงินที่มีเงินทุนน้อยกว่า ให้ทำหน้าที่ให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) และประชาชนรายย่อย โดยสินเชื่อที่ให้แก่ลูกหนี้แต่ละรายต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้เกือบทุกประเภท แต่มีข้อยกเว้นเช่นเดียวกับ ธ.พ. และยกเว้นธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตราสารอนุพันธ์ ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง สำหรับสถาบันการเงินต่างชาติก็จัดให้มีสองรูปแบบเช่นเดียวกันคือ 1. สาขาของธนาคารต่างประเทศ (Full Branch) ซึ่งประกอบธุรกิจได้เหมือน ธ.พ. แต่ไม่สามารถมีสำนักงานสาขาได้ และ 2. ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ (Subsidiary) คือ ธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย ทำธุรกรรมได้เช่นเดียวกับ ธ.พ. และสามารถมีสำนักงานสาขาได้ 3 - 5 แห่ง เมื่อการจัดรูปแบบและบทบาทของสถาบันการเงินข้างต้นได้แก้ไขปัญหาความแตกต่างของขอบเขตธุรกิจของสถาบันการเงินประเภทต่าง ๆ แล้ว ธปท. ยังได้มีนโยบายว่า กลุ่มธุรกิจการเงินหนึ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีสถาบันการเงินหลายประเภทอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และควรมีสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากประชาชนเพียงหนึ่งประเภทเท่านั้น ดังนั้น แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 1 (2547 - 2551) จึงได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างสถาบันการเงินทั้งระบบ และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินในระยะเวลาต่อมา ดังเช่นแผนพัฒนาระยะที่ 2 (2553 - 2557) ซึ่งมุ่งเน้นการลดอุปสรรคในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้บริการได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เป็นต้น (DAC022-000-007 มาตรการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ DAC022-000-008 Loop5 Credit Information Infrastructure DAC022-000-009 แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 1-2 DAC022-000-010 ข้อเสนอแนะเรื่อง Landscape Liberalization Strategies DAC022-000-011 ร่างแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 DAC022-000-012 แนวนโยบายของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 DAC022-000-013 ความเป็นมาของการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน DAC022-000-014 การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน DAC022-000-015 องค์กรที่ดูแลแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน DAC022-000-016 Loop4 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง) นอกจากนี้ ธปท. ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายที่สำคัญถึง 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2551 เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่นี้ คือ เพื่อให้การดำเนินงานของ ธปท. ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ผู้ว่าการ ธปท. มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร รวมทั้งกำหนดระบบตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ในการทำงานทุกระดับขององค์กร เพื่อให้การบริหารงานของ ธปท. มีความโปร่งใส ส่วนพระราชบัญญัติสถาบันการเงินนั้น มีการแก้ไขจุดอ่อนในอดีตของการกำกับสถาบันการเงินไทย เช่น การมีระบบการเตือนภัยที่ทำให้ ธปท. สามารถเข้าไปแก้ปัญหาสถาบันการเงินก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ตลอดจนการมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยให้รวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลสถาบันการเงินดังกล่าว ตลอดจนรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากและการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นการโอนอำนาจหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบการเงิน ในเรื่องของการให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่อาจจะไม่สามารถเข้าถึงข่าวสารทางการเงินได้อย่างเพียงพอ ไปยังสถาบันคุ้มครองเงินฝากให้ทำหน้าที่แทน ตามบทบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากปี 2551 สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีหน้าที่ดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกควบคุม จัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ สั่งลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อความเป็นธรรมในการชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตหากเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะไม่มีอำนาจในการสั่งให้สถาบันการเงินปิดกิจการ (เป็นอำนาจของ ธปท.) แต่มีอำนาจในการตรวจสอบและติดตามฐานะ เพื่อแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสถาบันการเงินนั้น ๆ เข้าควบคุมดูแลได้ เสมือนเป็นกองกลางในการกำกับควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงิน แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 1-2 • ปี 2546 เมื่อฐานะแข็งแรงพอแล้วหลังวิกฤตเศรษฐกิจจึงเริ่มการจัดระเบียบสถาบันการเงินอย่างจริงจัง เริ่มมีการร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย o DAC022-000-001 การประชุม Master Plan Of Institution System o DAC022-000-002 การปรับปรุงรูปแบบและบทบาทสถาบันการเงินไทย และต่างประเทศ o DAC022-000-003 แนวนโยบายการกำกับกลุ่มธุรกิจทางการเงิน o DAC022-000-004 ข้อมูลการควบกิจการของสถาบันการเงินตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน o DAC022-000-005 ปาฐกถาพิเศษเรื่อง นโยบายการรักษาเสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน o DAC022-000-006 ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ "การลดต้นทุนของระบบสถาบันการเงิน" • ปี 2547 ปีที่เริ่มแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 1 (2547 - 2551) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างสถาบันการเงินทั้งระบบ o สนับสนุนให้สถาบันทางการเงินไทยให้บริการทางการเงินอย่างทั่วถึงทั้งด้านคุณภาพและปริมาณสำหรับผู้ใช้บริการที่มีศักยภาพ o สร้างระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความสามารถในการแข่งขัน o ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและเป็นธรรม • ปี 2552 แผนพัฒนาระยะที่ 2 (2552 - 2557) มุ่งเน้นการลดอุปสรรคในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการใช้บริการได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น o DAC022-000-007 มาตรการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ o DAC022-000-008 Loop5 Credit Information Infrastructure o DAC022-000-009 แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 1-2 o DAC022-000-010 ข้อเสนอแนะเรื่อง Landscape Liberalization Strategies o DAC022-000-011 ร่างแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 o DAC022-000-012 แนวนโยบายของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 o DAC022-000-013 ความเป็นมาของการจัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน o DAC022-000-014 การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน o DAC022-000-015 องค์กรที่ดูแลแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน o DAC022-000-016 Loop4 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง o การลดต้นทุนของระบบสถาบันการเงิน ทั้งจากกฎระเบียบของทางการและจากสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ค้างอยู่ o การส่งเสริมการแข่งขันและการเข้าถึงบริการทางการเงิน o การส่งเสริมศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการบริหารความเสี่ยงและศักยภาพของระบบสถาบันการเงินในด้านต่าง ๆ • นอกจากนี้ ธปท. ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายที่สำคัญถึง 3 ฉบับ จนสำเร็จในปี 2551 o พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน แก้ไขจุดอ่อนในอดีตของการกำกับสถาบันการเงินไทย ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยให้รวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน รวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น o พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหน้าที่ • ดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกควบคุม • เป็นกองกลางในการกำกับควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงิน o พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินงานของ ธปท. มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทันต่อเหตุการณ์ และสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ว่าการ ธปท. มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร กำหนดระบบตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) ในการทำงานทุกระดับขององค์กร เพื่อให้การบริหารงานของ ธปท. มีความโปร่งใส

เลขชุดเอกสาร
DAC022
ชื่อชุดเอกสาร
แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 1-2
ช่วงปีของชุดเอกสาร
2001 2008
จำนวนแผ่นเอกสาร
3
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้