ชุดเอกสารจดหมายเหตุ

การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย

ตั้งแต่ต้นปี 2549 เงินบาทแข็งค่าถึงร้อยละ 16 ซึ่งแข็งค่ามากสุดในรอบ 9 ปี โดยมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้ระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2549 ค่าเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 35.83 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และที่สำคัญ คือ การที่ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตราสารประเภทหนี้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่ากว่าค่าเงินในภูมิภาคทุกสกุล ทั้งที่เศรษฐกิจไทยไม่ได้ขยายตัวสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้เริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ (DAC023-000-001 คำแถลงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของ ธปท. DAC023-000-002 ประเด็นการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท) จากสถานการณ์ดังกล่าว ธปท. จึงเริ่มใช้มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าโดยเริ่มต้นจากมาตรการที่ไม่รุนแรงและเข้มขึ้นตามลำดับ เช่น มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรในระยะแรก (15 พฤศจิกายน 2549) ธปท. ได้ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ออกและไม่ขายตั๋วแลกเงินสกุลเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (Non-Resident) ทุกอายุสัญญา ต่อมาได้ปรับปรุงมาตรการเพิ่มเติม (4 ธันวาคม 2549) เพื่อจำกัดธุรกรรมเงินบาทระหว่างสถาบันการเงินในประเทศกับผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศที่ไม่มีการค้าการลงทุนรองรับ เมื่อมาตรการไม่รุนแรงที่ดำเนินการมาไม่ได้ผล ซึ่งเห็นได้จากการแข็งค่าของเงินบาทในทางเดียว จนพูดเป็นภาษาการเงินได้ว่าเป็น ‘One Way Bet’ ธปท. จึงจำเป็นต้องออกมาตรการที่รุนแรงขึ้น (19 ธันวาคม 2549) โดยกำหนดให้กันเงินตราต่างประเทศที่นิติบุคคลรับอนุญาตรับแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองร้อยละ 30 แต่ต่อมาได้มีการผ่อนผันการกันเงินสำรองในกรณีต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการเก็งกำไรค่าเงินบาท (DAC023-000-003 มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-004 สรุปมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-005 เพิ่มทางเลือกการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-006 ธปท. กับความท้าท้ายในยุคเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรีภายใต้ภาวะ Global Imbalances DAC023-000-007 เศรษฐกิจไทย : ความเสี่ยง ความท้าท้าย และโอกาส DAC023-000-008 ปรับมาตรการป้องปรามฯ และเพิ่มทางเลือกการลงทุนใน ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน DAC023-000-009 แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบส่งออกครึ่งปีหลัง) หลังจากออกมาตรการกันสำรองเป็นระยะเวลาหนึ่ง การเคลื่อนไหวของเงินบาทแม้จะยังคงแข็งค่าขึ้น แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกันกับภูมิภาคมากขึ้น ธปท. ตระหนักว่ามาตรการดังกล่าวมีผลต่อต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องระดมเงินทุนจากต่างประเทศ จึงได้ผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการมาเป็นลำดับ และได้สื่อสารมาโดยตลอดถึงความตั้งใจที่จะใช้มาตรการนี้เป็นการชั่วคราว ในที่สุด เมื่อพิจารณาแล้วว่าปริมาณเงินตราต่างประเทศเข้าและออกมีความสมดุลมากขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตและภาคการส่งออกก็ได้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นจากการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นมาก ธปท. จึงยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองระยะสั้น (3 มีนาคม 2551) จากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้ ธปท. ได้พัฒนาระบบติดตามข้อมูลเงินทุนอย่างละเอียดและทันต่อเหตุการณ์ และมีแนวคิดที่ต้องการให้เงินทุนมีการไหลออกอย่างมีสมดุลมากขึ้น (DAC023-000-010 การยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-011 ภารกิจท้าทายในตำแหน่งผู้ว่าการ) และในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 กฎหมายที่มีการยกร่างแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2541 4 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติเงินตรา พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ (DAC023-000-012 การแก้ไขกฎหมาย 4 ฉบับ) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ธปท. จึงได้ออกประกาศเพื่อผ่อนคลายกฎเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อช่วยให้เงินในประเทศสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลของเงินไหลเข้าและออกมากขึ้น การจัดทำแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศจึงมีเป้าหมายเป็นการผ่อนคลายด้านเงินทุนขาออกของคนไทย เพื่อลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้า เนื่องจากการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในประเทศที่เอื้อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย และทำให้ค่าเงินบาทจะมีโอกาสเคลื่อนไหวในลักษณะ 2 ทิศทางมากขึ้น กล่าวคือ ไม่แข็งค่าหรืออ่อนค่าอยู่ด้านเดียวเป็นเวลานาน นอกจากนี้ ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ไม่เพียงจะทำให้นักลงทุนไทยสามารถกระจายการลงทุนออกไปในต่างประเทศได้กว้างขวางขึ้นแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมกันว่าจะสนับสนุนให้เงินทุนในภูมิภาคอาเซียนเคลื่อนย้ายระหว่างกันได้อย่างเสรีมากขึ้น ทั้งนี้ แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในระยะแรก ประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก คือ 1. การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ทำให้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาสามารถลงทุนได้อย่างไม่จำกัดวงเงิน 2. การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ 3. การลงทุนในรูปแบบบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ 4. การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และ 5. มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท (DAC023-000-013 แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ DAC023-000-014 เปิดระบบติดตามเงินทุนเคลื่อนย้ายของ ธปท. หนึ่งในเครื่องมือดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ DAC023-000-015 การผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ) การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย • ต้นปี 2549 เงินบาทแข็งค่าถึงร้อยละ 16 ซึ่งแข็งค่ามากสุดในรอบ 9 ปี o แข็งค่าขึ้นจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด o แข็งค่าขึ้นการที่ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในตราสารประเภทหนี้เพิ่มมากขึ้น o ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง o ทำให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่ากว่าค่าเงินในภูมิภาคทุกสกุล o เริ่มมีสัญญาณความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ o DAC023-000-001 คำแถลงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายของ ธปท. o DAC023-000-002 ประเด็นการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท • ธปท. จึงเริ่มใช้มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าโดยเริ่มต้นจากมาตรการที่ไม่รุนแรงและเข้มขึ้นตามลำดับ o มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรในระยะแรก (15 พฤศจิกายน 2549) ธปท. ได้ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ออกและไม่ขายตั๋วแลกเงินสกุลเงินบาทให้แก่ผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (Non-Resident) ทุกอายุสัญญา o ต่อมาได้ปรับปรุงมาตรการเพิ่มเติม (4 ธันวาคม 2549) เพื่อจำกัดธุรกรรมเงินบาทระหว่างสถาบันการเงินในประเทศกับผู้มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศที่ไม่มีการค้าการลงทุนรองรับ o เมื่อมาตรการไม่รุนแรงที่ดำเนินการมาไม่ได้ผล ซึ่งเห็นได้จากการแข็งค่าของเงินบาทในทางเดียว จนพูดเป็นภาษาการเงินได้ว่าเป็น ‘One Way Bet’ ธปท. จึงจำเป็นต้องออกมาตรการที่รุนแรงขึ้น คือ มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น (มีผลบังคับใช้ 19 ธันวาคม 2549) โดยกำหนดให้กันเงินตราต่างประเทศที่นิติบุคคลรับอนุญาตรับแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ต้องกันเงินสำรองร้อยละ 30 แต่ต่อมาได้มีการผ่อนผันการกันเงินสำรองในกรณีต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นการเก็งกำไรค่าเงินบาท DAC023-000-003 มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-004 สรุปมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-005 เพิ่มทางเลือกการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-006 ธปท. กับความท้าท้ายในยุคเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรีภายใต้ภาวะ Global Imbalances DAC023-000-007 เศรษฐกิจไทย : ความเสี่ยง ความท้าท้าย และโอกาส DAC023-000-008 ปรับมาตรการป้องปรามฯ และเพิ่มทางเลือกการลงทุนใน ตราสารหนี้และหน่วยลงทุน DAC023-000-009 แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบส่งออกครึ่งปีหลัง • เมื่อพิจารณาแล้วว่าปริมาณเงินตราต่างประเทศเข้าและออกมีความสมดุลมากขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตและภาคการส่งออกก็ได้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นจากการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นมาก ธปท. จึงยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองระยะสั้น (3 มีนาคม 2551) o DAC023-000-010 การยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น DAC023-000-011 ภารกิจท้าทายในตำแหน่งผู้ว่าการ • ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 กฎหมายที่มีการยกร่างแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2541 4 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติเงินตรา พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้ (DAC023-000-012 การแก้ไขกฎหมาย 4 ฉบับ) • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ธปท. จึงได้ออกประกาศเพื่อผ่อนคลายกฎเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อช่วยให้เงินในประเทศสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น o DAC023-000-013 แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ o DAC023-000-014 เปิดระบบติดตามเงินทุนเคลื่อนย้ายของ ธปท. หนึ่งในเครื่องมือดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ o DAC023-000-015 การผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ o การจัดทำแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ มีเป้าหมายเป็นการผ่อนคลายด้านเงินทุนขาออกของคนไทย • เพื่อลดแรงกดดันจากเงินทุนไหลเข้า • ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมในประเทศที่เอื้อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย • ทำให้ค่าเงินบาทจะมีโอกาสเคลื่อนไหวในลักษณะ 2 ทิศทางมากขึ้น • ทำให้นักลงทุนไทยสามารถกระจายการลงทุนออกไปในต่างประเทศได้กว้างขวางขึ้น • เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 แผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในระยะแรก ประกอบด้วย 5 เรื่องหลัก • 1. การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ทำให้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาสามารถลงทุนได้อย่างไม่จำกัดวงเงิน • 2. การลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ • 3. การลงทุนในรูปแบบบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ • 4. การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน • 5. มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท

เลขชุดเอกสาร
DAC023
ชื่อชุดเอกสาร
การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้าย
ช่วงปีของชุดเอกสาร
2006 2015
จำนวนแผ่นเอกสาร
3
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้