ชุดเอกสารจดหมายเหตุ

การจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

นับตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 กองทุนฟื้นฟูฯ ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาแต่อยู่ในฐานะที่จะฟื้นฟูกิจการได้ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ นอกจากนี้ ยังให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินในกรณีที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และป้องกันไม่ให้ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาของทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 - 2541 นั้น มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์ จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ของทั้งระบบสถาบันการเงินที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเงินไทย จากสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลและ ธปท. ได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนในระบบสถาบันการเงิน โดยได้มอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนดำเนินการ ทั้งในด้านการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 และการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 โดยการเพิ่มทุนเพื่อแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ และมาตรการอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ผลที่เกิดจากการดำเนินการข้างต้น ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องประสบปัญหาทางการเงินและสภาพคล่องเรื่อยมา หากจะกล่าวโดยสรุป ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก 3 มาตรการหลัก ๆ ดังนี้ 1. การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และการให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง (56 สถาบันการเงินและสถาบันการเงินอื่น ๆ) เป็นจำนวน 554,149 ล้านบาท 2. การขาดทุนจากการถือหุ้นในสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซง เป็นจำนวน 169,139 ล้านบาท 3. การขาดทุนจากการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากสถาบันการเงินของรัฐ เป็นจำนวน 650,750 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และหักเงินนำส่งออกแล้ว ภาระความเสียหายสุทธิของกองทุนการฟื้นฟูฯ มีมูลค่ารวมกันถึง 1.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ในการบริหารจัดการภาระหนี้ที่ผ่านมาทางการได้ตรากฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้น โดยออกเป็นพระราชกำหนด 2 ฉบับในปี 2541 และปี 2545 เพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถออกพันธบัตรเพื่อกู้ยืมเงินในวงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท และ 780,000 ล้านบาท ตามลำดับ ภายใต้พระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับนี้ กฎหมายได้กำหนดแหล่งเงินและกลไกในการชำระคืนไว้อย่างชัดเจน โดยพระราชกำหนดปี 2541 ให้จัดตั้ง “กองทุนเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ” ขึ้นมาเพื่อชำระคืนเงินต้นดังกล่าว โดยกองทุนนี้มีแหล่งเงินมาจาก 1. กำไรสุทธิที่ ธปท. นำส่งเป็นรายได้ในแต่ละปีตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย 2. เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และ 3. ดอกผลกองทุน สำหรับพระราชกำหนดปี 2545 กำหนดให้จัดตั้งบัญชีขึ้นมาบัญชีหนึ่งในฝ่ายการธนาคารของ ธปท. เพื่อชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว (เรียกว่า “บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน”) โดยมีแหล่งเงินมาจากสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามพระราชบัญญัติเงินตรา ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้นั้นมาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล โดยที่ผ่านมาจนถึงปี 2554 ตัวเลขหนี้รัฐบาลมีอยู่จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท (DAC024-000-001 แผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน (14 ส.ค. 2541) DAC024-000-002 การชดเชยความเสียหายจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน DAC024-000-003 การแก้ไขภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน DAC024-000-004 การรับซื้อคืนพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ) ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้เกิดวิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รัฐบาลในขณะนั้นเห็นว่าจำเป็นต้องปรับปรุงและจัดการระบบการชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้องการจะลดสัดส่วนหนี้สาธารณะเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถกู้เงินเพื่อมาทำโครงการฟื้นฟูประเทศตามแนวทางของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศไทย โดยการออกพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่งเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นวาระลับ โดยร่างดังกล่าวได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ของ ธปท. ไปชำระหนี้ ปรากฏว่ามีกระแสคัดค้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้ว่าการประสาร ไตรรัตน์วรกุล ได้บันทึกไว้ใน “จดหมายจากผู้ว่าการถึงอาจารย์ป๋วย” ซึ่งผู้ว่าการประสารได้เล่าถึงเรื่องราวข้างต้น โดยให้รายละเอียดของเหตุการณ์ นอกจากผู้ว่าการ ธปท. จะได้แสดงความเห็นท้วงติงและผ่านการพูดคุยโดยตรงกับรัฐบาลแล้ว ธปท. ยังได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 9 มกราคม 2555 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อแสดงความเป็นห่วง ดังนี้ 1 การให้แบงก์ชาติรับภาระหนี้สาธารณะแทนรัฐบาลมีผลเท่ากับพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ ซึ่งส่งผลเสียต่อประเทศ 2 จะต้องไม่มีการโอนเงินหรือสินทรัพย์ของแบงก์ชาติไปชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 3 การดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ ควรทำในฐานะตัวแทนรัฐบาล 4 หน้าที่ในการกำหนดอัตราเงินนำส่งฯ ควรเป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ โดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี และ 5 การนำส่งกำไรสุทธิต้องหักขาดทุนสะสมแล้ว (DAC024-000-005 ทางออกหนี้ FIDF (จดหมายจากใจถึงอาจารย์ป๋วย ฉบับที่ 2 พ.ค. 2555)) ในที่สุด การบริหารหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก็เดินทางมาถึงบทสรุป เมื่อรัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 โดยกำหนดให้ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ และชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยโดยมาจากกำไรสุทธิและบัญชีผลประโยชน์ประจำปีดังเดิม แต่เพิ่มเติมให้ ธปท. มีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝาก การจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน • การจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 กองทุนฟื้นฟูฯ ถือเป็นกลไกที่สำคัญ o ให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาแต่อยู่ในฐานะที่จะฟื้นฟูกิจการได้ให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ o ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินในกรณีที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน และป้องกันไม่ให้ลุกลามจนกลายเป็นปัญหาของทั้งระบบ • วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2540 – 2541 o ทางการได้มอบหมายให้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนดำเนินการ ด้านการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 ด้านการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 o ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องประสบปัญหาทางการเงินและสภาพคล่องเรื่อยมา ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก 3 มาตรการหลัก ๆ ดังนี้ การให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ และการให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง (56 สถาบันการเงินและสถาบันการเงินอื่น ๆ) เป็นจำนวน 554,149 ล้านบาท การขาดทุนจากการถือหุ้นในสถาบันการเงินที่ทางการเข้าแทรกแซง เป็นจำนวน 169,139 ล้านบาท การขาดทุนจากการเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกจากสถาบันการเงินของรัฐ เป็นจำนวน 650,750 ล้านบาท ภาระความเสียหายสุทธิของกองทุนการฟื้นฟูฯ มีมูลค่ารวมกันถึง 1.4 ล้านล้านบาท • ในการบริหารจัดการภาระหนี้ที่ผ่านมาทางการได้ตรากฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดกาเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้น โดยออกเป็นพระราชกำหนด 2 ฉบับ o พระราชกำหนดปี 2541 ให้จัดตั้ง “กองทุนเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ” ขึ้นมาเพื่อชำระคืนเงินต้นดังกล่าว โดยกองทุนนี้มีแหล่งเงินมาจาก กำไรสุทธิที่ ธปท. นำส่งเป็นรายได้ในแต่ละปีตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย เงินรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดอกผลกองทุน o พระราชกำหนดปี 2545 กำหนดให้จัดตั้งบัญชีขึ้นมาบัญชีหนึ่งในฝ่ายการธนาคารของ ธปท. เพื่อชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว (เรียกว่า “บัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน”) โดยมีแหล่งเงินมาจาก สินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามพระราชบัญญัติเงินตรา ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้นั้นมาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล o โดยที่ผ่านมาจนถึงปี 2554 ตัวเลขหนี้รัฐบาลมีอยู่จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท o DAC024-000-001 แผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน (14 ส.ค. 2541) o DAC024-000-002 การชดเชยความเสียหายจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน o DAC024-000-003 การแก้ไขภาระหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน o DAC024-000-004 การรับซื้อคืนพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ • ไตรมาส 4 ของปี 2554 ได้เกิดวิกฤตการณ์อุทกภัยอย่างร้ายแรงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รัฐบาลในขณะนั้นเห็นว่าจำเป็นต้องปรับปรุงและจัดการระบบการชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยต้องการจะลดสัดส่วนหนี้สาธารณะเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลอีกต่อไป o ร่างดังกล่าวได้กำหนดให้นำสินทรัพย์ของ ธปท. ไปชำระหนี้ ปรากฏว่ามีกระแสคัดค้านอย่างรุนแรงจากสาธารณชน o ผู้ว่าการประสาร ไตรรัตน์วรกุล ได้บันทึกไว้ใน “จดหมายจากผู้ว่าการถึงอาจารย์ป๋วย” DAC024-000-005 ทางออกหนี้ FIDF (จดหมายจากใจถึงอาจารย์ป๋วย ฉบับที่ 2 พ.ค. 2555) • เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 รัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูฯ o กำหนดให้ ธปท. เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูฯ และชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยโดยมาจากกำไรสุทธิและบัญชีผลประโยชน์ประจำปีดังเดิม o แต่เพิ่มเติมให้ ธปท. มีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเป็นอัตราร้อยละต่อปีของยอดเงินฝาก

เลขชุดเอกสาร
DAC024
ชื่อชุดเอกสาร
การจัดการหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ช่วงปีของชุดเอกสาร
1998 2012
จำนวนแผ่นเอกสาร
3
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้