พันธบัตรทองคำ
พันธบัตรทองคำ คือ พันธบัตรชนิดจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ ออกตามความใน พ.ร.บ.กู้เงินในประเทศ พ.ศ. 2485 พันธบัตรนี้มีอายุ 8 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% วงเงินกู้ 30 ล้านบาท ไถ่ถอนคืนตามราคาที่ตราไว้ หรือจะขอรับชำระเป็นทองคำก็ได้ ในอัตราทองคำบริสุทธิ์ กรัมละ 5.78 บาท ซึ่งการเลือกไถ่ถอนเป็นทองคำนี้เป็นที่มาของคำว่า “พันธบัตรทองคำ” ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พันธบัตรทองคำนี้ มีชนิดราคา 10000 บาท 1000 บาท 100 บาท และ 50 บาท ออกจำหน่ายระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494 กระทรวงการคลังได้ขอซื้อทองคำอันเป็นทุนสำรองเงินตราจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำเหรียญทองคำและแท่งทองคำ ใช้ในการไถ่ถอน โดยนายช่วง สเลลานนท์ ช่างศิลป์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบเหรียญ กองกษาปณ์ กรมคลัง เป็นผู้ดำเนินการจัดทำเหรียญและแท่งทองคำ บริษัทบาโรเบราว์ รับจ้างทำเบ้าหลอมทองคำ ทั้งนี้โดยมีนายแนบ พหลโยธิน เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมและจัดสร้างเหรียญและแท่งทองคำ สำหรับเหรียญทองคำและแท่งทองคำเพื่อใช้ในการไถ่ถอนตามวงเงิน 30,000,000 บาท นั้น มีจำนวนการผลิต คือ 1. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 50 บาท จำนวน 2,028 เหรียญ 2. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 100 บาท จำนวน 1,264 เหรียญ 3. เหรียญทองคำ ชนิดราคา 1000 บาท จำนวน 3,160 เหรียญ 4. แท่งทองคำ ชนิดราคา 10000 บาท จำนวน 641 แท่ง (ปัจจุบันพบแท่งทองคำนี้เพียง 2 แท่ง) 5. แท่งทองคำ ชนิดราคา 100000 บาท จำนวน 48 แท่ง (ปัจจุบันยังไม่พบแท่งทองคำนี้) 6. แท่งทองคำ น้ำหนักแตกต่างกัน ตามราคาพันธบัตรของผู้ถือรายใหญ่ จำนวน 8 ราย รวม 464 แท่ง (ปัจจุบันยังไม่พบแท่งทองคำนี้) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีพันธบัตรทองคำจำนวนหนึ่งจากการซื้อพันธบัตรไว้ตั้งแต่เมื่อแรกออกพันธบัตรเมื่อ พ.ศ. 2485 และต่อมาได้รับซื้อพันธบัตรทองคำที่จัดทำขึ้นเพื่อการไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้จากกระทรวงการคลังและสำนักงานพระคลังข้างที่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดได้นำเข้าไปเป็นทุนสำรองเงินตราของประเทศ ต่อมาได้โอนแท่งทองคำชนิดราคา 10000 บาท จำนวน 1 แท่ง และ เหรียญทองคำทุกชนิดราคา ชนิดละ 2 เหรียญ ออกจากทุนสำรองเงินตรา โดยรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาเข้าไว้แทน เพื่อนำมาเป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นหลักฐานบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และความสำคัญของทองคำในฐานะทุนสำรองเงินตรา Gold Bond Gold bond is the national loan bond which the Ministry of Finance adjured the Bank of Thailand to issue, manage, and repay to the bond holders with gold. That is the reason why it is called the “Gold Bond”. The primary objective of the bond circulation is to compensate for the payment in compliance with the Royal Decree on Budget. Such an unpleasant situation was caused by the fact that, during World War II, Thailand was faced with internal economic turmoil and severe inflation. The gold bond was launched from 24 June 1943 to 10 June 1944, with an 8-year maturity and at 3% interest annually. The interest was paid twice a year (every 24 June and 24 December) starting from the year 1944. The gold bond was due for redemption on 24 June 1951. However, after 24 June 1947, the bond holders had the right to withdraw his or her bond prior to the actual redemption due date after 24 June 1947. Such redemption could be in the form of gold instead of cash. In that case, the person who asked for redemption in gold had to submit a written notice at least three months prior to the actual due date for redemption. The Ministry of Finance bought gold which was in the reserve fund from the Bank of Thailand. Such gold was deployed in production of gold bonds for redemption. The gold bond came in four denominations: 10000-Baht in the form of bullion, as well as 1000-Baht, 100-Baht and 50-Baht in the form of coins. Upon the due redemption date, holders redeemed their bonds for 29,935,950 Baht, with non-redemption amounting to 64,050 Baht, making up 789 coins of 50-Baht value and 73 coins of 100-Baht value. At present, the gold bond in all denominations, namely gold bullion in a 10000-Baht denomination as well as gold coins in 1000-Baht, 100-Baht, and 50-Baht denominations are regarded as exquisite items displayed at BOT Museum only.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา10000 บาท
-
ขนาดOverall: 1.26 ซม., 1738.797 ก., 3.6 x 26.5 ซม. (1 7/16 x 10 7/16 ")
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุทองคำ