ทองคำแท่ง
ทองคำนับเป็นโลหะที่มีมูลค่าสูงและเป็นเครื่องวัดมูลค่าซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างสากลมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยเป็นโลหะที่มีปริมาณน้อย และมีความคงทนเป็นนิรันดร์ เมื่อมีการนำโลหะมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทองคำจึงเป็นหนึ่งในโลหะซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีมูลค่าสูงสุด นอกเหนือจากเงิน ดีบุก ทองแดง ฯลฯ ซึ่งโลหะเหล่านี้ต่างมีมูลค่าในตัวเองลดหลั่นกันไป ต่อมาเมื่อถึงยุคที่มีการใช้เงินกระดาษหรือธนบัตร ซึ่งไม่มีมูลค่าในตัวเอง ความเชื่อมั่นในมูลค่าของธนบัตร จึงอยู่ที่ทุนสำรองเงินตราซึ่งหนุนหลังธนบัตรออกใช้ ทองคำจึงมีบทบาทสำคัญในฐานะทุนสำรองเงินตราสากลที่ทั่วโลกยอมรับ การออกใช้ธนบัตรครั้งแรกในประเทศไทยใน พ.ศ. 2445 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กำหนดให้มีเงินตราโลหะไว้ให้เพียงพอสำหรับรับแลกธนบัตรเมื่อมีผู้มาขอแลก จึงใช้เงินตราโลหะเป็นทุนสำรองเงินตรา ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 กำหนดให้ทองคำเป็นหนึ่งในทุนสำรองเงินตราเป็นครั้งแรก นอกเหนือจากเงินตราต่างประเทศ เช่น เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา พันธบัตรและหลักทรัพย์ ฯลฯ โดยรูปแบบของทุนสำรองเงินตราประเภทอื่นนอกเหนือจากทองคำ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์และความจำเป็นของประเทศ ทั้งนี้การนำธนบัตรออกใช้จะต้องมีทุนสำรองเงินตราเต็มจำนวน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดซื้อทองคำแท่งเพื่อเป็นทุนสำรองเงินตราหลายครั้ง เช่น ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยนั้นได้คาดการณ์ว่าเงินปอนด์ที่เป็นทุนสำรองเงินตราที่มีอยู่นั้น อาจจะไม่มีเสถียรภาพ จึงได้นำเงินปอนด์จำนวนหนึ่งไปซื้อทองคำแท่งและเก็บไว้ที่ห้องนิรภัย กระทรวงการคลัง ขณะเดียวกัน ยังได้นำเงินจากการขายเนื้อเงินให้ประเทศสหรัฐอเมริกาไปซื้อทองคำแท่งและฝากเอาไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ มีการซื้อทองคำแท่งจากบริษัท Johnson Matthey กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากเหมืองทองคำโต๊ะโมะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ซึ่งมีทั้งช่วงที่เหมืองแห่งนี้อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทโซสิเอเต้ เดล์ มินส์ ดอร์ เดอ ลิทโซ ประเทศฝรั่งเศส และกรมโลหกิจ กระทรวงเศรษฐการ (ต่อมากรมนี้อยู่ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) ทองคำจากต่างประเทศแต่ละแท่งจะมีตราประทับของบริษัทผู้ผลิตทองคำ ตัวเลขระบุปีที่ผลิต ลำดับที่ผลิตในแต่ละปี น้ำหนัก และเลขรหัสประจำตัวของทองคำ นอกจากนั้น ในบางกรณีจะมีรูเจาะทะลุ เพื่อพิสูจน์เนื้อทองคำ ทองคำแท่ง 5 แท่งนี้ มีความสำคัญในฐานะที่เคยเป็นทุนสำรองเงินตรา ทั้งยังเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ของทองคำแท่งที่ซื้อจากประเทศอังกฤษซึ่งผลิตในยุค พ.ศ. 2474-2475 และยังเป็นหลักฐานของทองคำโต๊ะโมะ ซึ่งผลิตจากเหมืองทองคำที่มีชื่อเสียงในอดีตของประเทศไทย Gold Bullion Gold is a type of reserve fund used in issuing banknotes for circulation in Thailand. In issuing a banknote, a reserve fund has to be provided for support during circulation in order to secure and guarantee the value of such banknotes. The total value of a reserve fund must be the same value as that of the banknotes circulated in Thailand. This practice is aimed at preventing the country to issue abundant banknotes for its own sake that then can cause inflation. The practice will also control the money issuance in line with national economic expansion. The money reserve fund has been formed because of international trade. In such trade, money is needed in international transactions, and there should be a medium of property as a reserve fund to guarantee the value of the currency of each trading country, thereby securing the currency, and establishing a reliable measure to strengthen the financial status of the trading country. The gold bullion displayed in BOT Museum is the one used to be the reserve fund for Thailand. The Museum carefully selected and exhibited such items to emphasize the importance of the reserve fund and explicate economic history, as well as development of the reserve fund which varied according to situation and national needs. Examples of such evolution include a silver standard (used during the reign of King Rama V), a gold standard (first begun in the reign of King Rama VII), the announcement and enactment of the Gold Standard Act, Rattanakosin Era 127 (1908), a gold exchange system in compliance with the Currency Act B.E. 2471 (1928), the Emergency Currency Act B.E. 2484 (1941), and the Currency Act B.E. 2501 (1958), among others. A large amount of gold bullion was purchased for the gold reserve fund. Mr. Pridi Panomyong, the Minister of Finance at the time, predicted that the pound used as the reserve fund may not have been secure in case World War II happened. He then bought the first lot of gold bullion to put into the reserve fund. After that, gold bullion was purchased from many other places, e.g. England, Societe des Mine d’Or de Litcho in France, Toh Moh Mine in Narathivas Province, etc. Gold bullion from various sources are displayed at BOT Museum to reflect the history of gold reserves.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ขนาดOverall: 1 ซม., 1796.49 ก.
-
วัสดุทองคำ