เงินกระดาษหลวง ชนิดราคา 10 บาท
นับแต่ประเทศไทยได้ลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริ่งเมื่อ พ.ศ. 2398 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาได้ลงนามในสนธิสัญญาการค้าลักษณะเดียวกันกับชาติตะวันตกอีกหลายประเทศ คือจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจการค้าของไทย จากเดิมที่พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานควบคุม เปลี่ยนเป็นการค้าแบบเสรี มีการผลิตและซื้อขายสินค้าจำนวนมาก เพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศและนำเข้ามาในประเทศ เงินตราไทยที่ใช้ในขณะนั้นคือเงินพดด้วง ผลิตได้ไม่เพียงพอ จึงมีการสั่งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์จากประเทศอังกฤษเพื่อผลิตเหรียญบาทและเหรียญชนิดราคาปลีก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ตั้งขึ้นมาในประเทศสยามได้จัดพิมพ์บัตรธนาคารของตนเองเพื่อใช้ทดแทนการขาดแคลนเหรียญบาท โดยใช้กันในเฉพาะกลุ่มพ่อค้าชาวต่างประเทศ และเป็นจุดเปลี่ยนอย่างสำคัญที่ทำให้รัฐบาลเห็นความจำเป็นที่ต้องมีธนบัตรออกใช้ในประเทศ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สั่งพิมพ์เงินกระดาษหลวงจากบริษัทกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ เมืองไลป์ซิก กรุงเบอร์ลิน (Giesecke& Devrient Co. Leipzig, Berlin) ประเทศเยอรมนี เป็นบริษัทที่มีความชำนาญพิเศษด้านการผลิตธนบัตร สิ่งพิมพ์มีค่า และยังเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับกระบวนการพิมพ์ธนบัตร รวมทั้งเป็นบริษัทผู้พิมพ์ธนบัตรออกใช้ของประเทศเยอรมนีตั้งแต่ พ.ศ. 2397 เงินกระดาษหลวงที่สั่งทำขึ้นนี้มี 8 ชนิดราคา กำหนดราคาตามมาตรฐานเงินแบบไทย ได้แก่ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 40 บาท (20 ตำลึง) 80 บาท (1 ชั่ง) 400 บาท (5 ชั่ง) 800 บาท (10 ชั่ง) มีข้อความบอกราคาถึง 6 ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ มลายู เขมร และลาว สะท้อนถึงชาติที่มีบทบาทสำคัญทางการค้าคือชาติตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักและเป็นผู้ซื้อสินค้ารายใหญ่ จีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า นอกจากนั้น ยังแสดงถึงขอบเขตราชอาณาจักรสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งครอบคลุมถึงพื้นที่บางส่วนของเขมร ลาว และหัวเมืองมลายู พ.ศ. 2435 เงินกระดาษหลวงบางส่วนที่สั่งพิมพ์ได้เข้ามาถึงประเทศไทย เตรียมนำออกใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2436 แต่ในที่สุดก็มิได้นำออกใช้ ด้วยมติที่ประชุมเสนาบดีสภาให้มีการยับยั้งก่อนหน้าวันประกาศออกใช้เพียงสองสัปดาห์ โดยมีเหตุผลสำคัญคือ ความไม่พร้อมของทางการในการบริหารจัดการทางราชการยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อราษฎรในการใช้เงินกระดาษซึ่งเป็นของใหม่ในเวลานั้น เกรงว่าจะเกิดความปั่นป่วนขึ้นในบ้านเมืองได้ รวมทั้งเรื่องทุนสำรองเงินตราในการรับขึ้นเงินกระดาษหลวง เป็นเงินตราโลหะ ต่อมาเมื่อจะมีการนำธนบัตรออกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2445 เงินกระดาษหลวงที่เก็บไว้ จึงถูกสั่งเผาทำลายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2445 เพื่อป้องกันการรั่วไหล ให้มีการเก็บตัวอย่างไว้ชนิดละ10 แผ่น เงินกระดาษหลวงชุดนี้ คือ 1 ใน 10 ชุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของความพยายามออกใช้เงินกระดาษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปรับปรุงระบบเงินตราเพื่อสนองตอบการค้าขายที่เจริญยิ่งขึ้น และความต้องการใช้เงินตราเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ก่อนที่จะมีธนบัตรออกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2445 หรืออีก 10 ปีต่อมา Ngeon Kradat Luang Ngeon Kradat Luang, a treasury note, is a paper money issued by the Royal Treasury Department with a promise to pay to the bearer in cash. Different sizes of treasury notes meant different denominations based on the old Thai money currency standard equivalent to Thai Baht, as follows: 40 Baht equaled 10 Tamlung or half Chang; 80 Baht equaled 1 Chang; 400 Baht equaled 100 Tamlung or 5 Chang; and 800 Baht equaled 10 Chang. There were altogether 8 denominations: 1-Baht, 5-Baht, 10-Baht, 40-Baht, 80-Baht, 100-Baht, 400-Baht, and 800-Baht. The idea of launching treasury notes was shaped by the shortage of coins which was a consequence of economic and commercial expansion at the time. H.R.H. Prince Naratipprapanpong, the Deputy Director-General of the Royal Treasury Department, then wrote to King Chulalongkorn (Rama V), requesting for the Royal Assent to order the Giesecke Et Devrient Company, a German banknote company in Leipzig, Germany, to print Ngeon Kradat Luang in 1890. Phraya Nonthaburi Srikasettraram, the Siam Royal Ambassador based in Berlin was appointed to be the contact person and signatory to the contract as well as supervising the printing company to adhere to the details of the agreement. When part of Ngeon Kradat Luang ordered for print arrived in Bangkok in 1892, H.R.H. Prince Naratipprapanpong drafted a royal decree, law, and announcement relating to such treasury notes. He submitted such drafts to King Rama V for royal approval. King Rama V, then, graciously put the drafts on the agenda for the ministers’ meeting on 19 January 1892. The meeting approved of such drafts. Despite its schedule to be circulated on 1 April 1893, none of these treasury notes was ever launched into circulation. The non-issuance appeared in a report made by the Minister of Royal Treasury and appeared to be, “… due to lack of unison, the launch is put to an end”. Later, other assumptions were made by many people. In the first instance, the unpreparedness was caused by the Thai government’s lack of mechanism in circulation and exchange for precious metal. Second, Ngeon Kradat Luang had the feature of “Treasury Notes” rather than “Promissory Notes”. To prevent possible complications, a large reserved fund and extra controls were required. Currently, only a small number of Ngeon Kradat Luang remain in evidence and do not exceed 10 pieces of each denomination. This is because such Ngeon Kradat Luang was incinerated according to the recommendation of Mr. W.F.J. Williamson, financial advisor of the Thai Government (1900-1924). Accordingly, a full set of Ngeon Kradat Luang is rare. At present, BOT Museum is a place where on complete set can be found. Initially, the set was received from the Ministry of Finance and was exhibited in the Monetary Museum, Surawongse Office. The ownership of the set was later transferred to BOT Museum, where the set has been retained since then.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา10 บาท
-
ขนาดOverall: 11.6 x 17.9 ซม.
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุกระดาษ