แบบร่างสีบัตรธนาคาร ชนิดราคา 10 บาท
บัตรธนาคารเริ่มมีใช้ครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2432 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาตั้งสาขาอยู่ในประเทศไทยได้นำออกใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า นับเป็นเงินกระดาษยุคแรกๆ ในสังคมไทย ครั้งนั้น คนไทยเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า “แบงก์โน้ต” หรือ “แบงก์” เมื่อมีการออกใช้ธนบัตรในยุคต่อมาจึงมักเรียกธนบัตรว่า “แบงก์” จนติดปากมาถึงปัจจุบัน บัตรธนาคารต่างประเทศได้เลิกใช้ไปเมื่อรัฐบาลได้มีการพิมพ์ธนบัตรออกใช้หมุนเวียนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของระบบเศรษฐกิจ เมื่อมีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นใน พ.ศ. 2485 และได้กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงแห่งเดียวมีสิทธิที่จะนำบัตรธนาคารออกใช้แทนธนบัตรรัฐบาล พ.ศ. 2487 ธนาคารแห่งประเทศไทยมี แนวคิดที่จะนำบัตรธนาคารออกใช้ เพื่อให้สอดคล้องตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 หมวด 4 ว่าด้วยการออกบัตรธนาคาร มีการศึกษาตัวอย่างวิธีนำออกใช้ ทั้งการจำหน่ายและวิธีการทางบัญชีจากธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น แต่อาจเนื่องด้วยอยู่ในภาวะเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การนี้ระงับไป และได้นำมาดำเนินการอีกครั้งใน พ.ศ. 2489 โดยฝ่ายออกบัตรธนาคารของธนาคารแห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้ นายช่วง สเลลานนท์ ช่างศิลป์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบเบื้องต้น ก่อนส่งให้บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ออกแบบลายประดิษฐ์ และตกแต่งประกอบลวดลายให้สมบูรณ์ แล้วส่งแบบร่างสีกลับมาให้พิจารณา แบบร่างสีบัตรธนาคารนี้ มี 5 ชนิดราคา คือ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 50 บาท และ 100 บาท ด้านหน้าธนบัตรมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน และพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนด้านหลังภาพประธานเป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับระบบเศรษฐกิจการค้าสำคัญของไทยในช่วงเวลานั้น คือ การทำสวนยางพารา การชลประทาน การทำป่าไม้ การทำนา และการทำเหมืองแร่ แต่ในที่สุดบัตรธนาคารชุดนี้ ก็ไม่ได้พิมพ์ออกใช้ เนื่องจากเกรงว่าประชาชนไม่รู้จักและไม่คุ้นเคยกับบัตรธนาคาร ซึ่งอาจทำให้ขาดความเชื่อถือ เพราะคุ้นเคยและเชื่อมั่นธนบัตรที่ออกโดยรัฐบาลมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แบบร่างสีบัตรธนาคารชุดนี้ เป็นหลักฐานสำคัญในความพยายามออกใช้บัตรธนาคารให้เป็นเงินตราหมุนเวียนใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายแบบเดียวกับบัตรธนาคารต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ในโลก ออกใช้โดยธนาคารกลาง และแสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเงินตราไทยโดยช่างศิลป์ไทยให้เป็นที่ประจักษ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2530 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการออกธนบัตรที่ระลึกชนิดราคา 60 บาทในรูปแบบบัตรธนาคาร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีการออกแบบขนาดและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากธนบัตรที่ใช้อยู่เดิม โดยแฝงความหมายอันเป็นมงคล ทำให้บัตรธนาคารนี้มีความสวยงามและเป็นสิริมงคล ประชาชนจึงนิยมแลกเก็บไว้เป็นที่ระลึกและไม่มีการนำออกใช้หมุนเวียน Colour Design of Bat Thanakarn According to the Bank of Thailand Act B.E. 2485 (1942), BOT was the only legal entity in the Kingdom of Thailand which had the rights to launch its banknotes in place of the government banknote. After World War II, BOT considered the launch of Bat Thanakarn by initiating the colour design. Bat Thanakarn originated from the fact that on 2 August 1944, H.H. Prince Vivadhanajaya, BOT Governor at the time, assigned Mr. Sommai Hoontrakul, the Chief of Secretariat Division, Central Administration, and Mr. Metee Dulyajinda, the Assistant Director of the Issue Department, to jointly consider and draft the method of BOT banknote circulation, as well as the method of accounting. These two schemes were developed based on the existing process in banknote circulation and the method deployed by the Bank of Japan. Later, on 27 March 1946, M.R. Kajit Kasemsri, the Director of the Central Administration, sent Luang Thanatornpinit, the Director of the Issue Department, a memo concerning the preparation of Bat Thanakarn issuance. In accord with the BOT Governor’s contemplation, Thomas de la Rue & Company Limited were to be appointed as printer. The Director of the Issue Department had to design a pattern and text to be embossed on Bat Thanakarn. The numbers of signatures and signatories in Bat Thanakarn were also considered. Based on the aforementioned, it was evident that BOT had conceptualized the launch of Bat Thanakarn since World War II. When World War II ended, this policy was undertaken further in 1946. In this regard, the Director of the Issue Department assigned Mr. Chuang Salelanonda, a BOT professional artisan who was expert in drawing Thai tracery at that time, to generate a preliminary design, especially that of the Thai painting, the portrait of Phra Siam Taywathiraj, the Buddhist Wheel of Law, the image of the Constitution placed on a pedestal tray, the text “Bank of Thailand” on the obverse side and the central principal image on the reverse side. Such drawings were then sent to Thomas de la Rue & Company Limited in order to produce the guilloche design and other decorations before returning the colour design to BOT for final decision. Presumably, the colour design of Bat Thanakarn was neither printed nor launched because BOT was concerned that Thai citizens may not have known, nor been familiar with, the idea of Bat Thanakarn, resulting in a lack of credibility. To date, only one copy of such colour designs remains at BOT Museum. The item was transferred from the Monetary Museum at Surawongse Office.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา10 บาท
-
ขนาดOverall: 8 x 14 ซม.
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุกระดาษ