แบบร่างสีธนบัตรแบบสอง ชนิดราคา 5 บาท
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2466 บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ของประเทศอังกฤษ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรแบบสอง เพื่อออกใช้แทนธนบัตรแบบหนึ่งซึ่งใช้หมุนเวียนมานานกว่า 20 ปี ครั้งนั้น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของธนบัตร เช่น การกำหนดให้มีการพิมพ์เส้นนูน การใช้รูปภาพเป็นส่วนหนึ่งของด้านหลังธนบัตร โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า "ถ้าใช้รูปพิธีแรกนาดูเหมือนจะเข้าที เพราะจะเป็นอันเข้าเกณฑ์ที่ต้องการให้แสดงถึงการค้าขายที่เป็นส่วนใหญ่ของเมืองเรา อีกทั้งจะเป็นของงามด้วย" จึงมีการส่งภาพถ่ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญไปยังบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นภาพต้นฉบับสำหรับการออกแบบและกระบวนการแกะแม่พิมพ์ต่อไป ต่อมา บริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ส่งแบบร่างสีธนบัตรแบบสองทุกชนิดราคากลับมาให้พิจารณา โดยใช้การวาด ลงสี และปะติดภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบบนธนบัตรทั้งด้านหน้าและหลังตามขนาดจริง จำนวน 2 แบบ แตกต่างกันที่แบบแรกมีลายเครือเถาเป็นลายพื้นด้านหน้าธนบัตร แบบที่สองไม่มีลายเครือเถา แต่มีลวดลายที่รัศมีด้านหน้าจำนวน 6 แฉก สลับกับรัศมีที่ไม่มีลวดลายจำนวน 6 แฉก จากแบบร่างสีธนบัตรแบบสองนี้ เห็นได้ว่า ไม่มีการระบุหน่วยเงินตราเป็นภาษาอังกฤษเหมือนธนบัตรแบบหนึ่งที่มีคำว่า Tical ซึ่งเป็นคำที่ชาวยุโรปใช้เรียกหน่วยเงินบาทของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลยกเลิกการใช้คำนี้เรียกชื่อหน่วยเงินตรา โดยให้เรียกทับศัพท์ว่า Baht นอกจากนั้น การใช้ธนบัตรแบบหนึ่งหมุนเวียนมาเป็นเวลากว่า 20 ปี คงทำให้พ่อค้าและชาวต่างประเทศคุ้นเคยกับการใช้ธนบัตรของไทยเป็นอย่างดีแล้ว จึงไม่มีอักษรจีนและอักษรอาหรับภาษามลายูบอกชนิดราคาบนธนบัตรอีก แบบร่างสีธนบัตรแบบสองนี้ แสดงให้เห็นกระบวนการออกแบบและจัดพิมพ์ธนบัตร ซึ่งต้องมีความละเอียดพิถีพิถัน ตั้งแต่การคัดเลือกภาพ ข้อความ และลวดลายที่จะปรากฏบนธนบัตร เพื่อให้มีความเหมาะสมสวยงาม และยังบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี Colour Design of Banknote, 2nd Series The colour design was the model of the banknote. Upon approval, such design would then be printed for further circulation. There was thus only one final colour design per denomination of a single series. BOT Museum holds the colour design of all denominations of the banknote, 2nd Series produced by Thomas de la Rue & Company Limited. Here, the plates of the fronts of the banknotes, 2nd Series in all denominations can also be found. This initial colour design had been developed by the Department of Arts and Crafts before it was further developed in detail by Thomas de la Rue & Company Limited, which won the bid. It is presumed that the colour design devised by the Department of Arts and Crafts was available only for the front side. Later on, Thomas de la Rue & Company Limited was granted the bid with the lowest price, thereby further developing the colour design by adding the reverse side. For the reverse side, Thailand sent the company a facsimile image for the company to make a drawing from a picture and to carve the iron plate for the mould of the reverse side of the banknote. Like the front side, there were two colour designs for the banknote, 2nd Series. Nonetheless, BOT Museum does not have the colour design of the reverse side which the Royal Thai government did not choose to print. An interesting part of this colour design is that only one design was found.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา5 บาท
-
แบบและรุ่นแบบ 2 รุ่น 1
-
ขนาดธนบัตร: 15.7 x 22.1 ซม. (6 3/16 x 8 11/16 ")
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุกระดาษ