แบบทดลองพิมพ์ธนบัตรแบบสอง ชนิดราคา 10 บาท
การจัดพิมพ์ธนบัตรแบบสองของบริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด เมื่อได้ผ่านกระบวนการออกแบบ และการพิจารณาแบบร่างสีแล้ว บริษัทฯ จะนำภาพและลวดลายไปผ่านกระบวนการแกะแม่พิมพ์โลหะ ซึ่งลวดลายบนธนบัตรจะมีลายประดิษฐ์ซึ่งเป็นลายเส้นที่สอดประสานกันอย่างละเอียด ช่างแกะแม่พิมพ์จึงต้องมีทักษะความชำนาญพิเศษ เพราะนอกจากการแกะแม่พิมพ์ที่ต้องทำให้เส้นสายลวดลายพิมพ์ออกมาได้ละเอียดคมชัดแล้ว ช่างจะต้องแกะกลับด้าน ดังเช่นการมองภาพจากกระจกเงา ซึ่งเมื่อนำไปทำแผ่นแม่พิมพ์แล้ว เวลาพิมพ์จึงจะเป็นภาพปกติ นอกจากนี้ ช่างจะทำสัญลักษณ์พิเศษเป็นจุดสังเกตเพื่อประโยชน์ในการตรวจพิสูจน์ธนบัตรปลอม โดยแต่ละชนิดราคา จะทำจุดสังเกตเฉพาะด้านหน้า ชนิดราคาละ 3 ตำแหน่ง จุดสังเกตจะทำสัญลักษณ์ไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อมิให้เป็นที่สังเกตของช่างที่จะมาแกะลอกเลียนแบบ เมื่อแกะแม่พิมพ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงทดลองพิมพ์ลงบนกระดาษตัวอย่าง เพื่อเป็นแบบทดลองพิมพ์กลับมาให้พิจารณาแบบทดลองพิมพ์ธนบัตรแบบสองนี้ มีทุกชนิดราคา คือ 1 บาท 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ทดลองเฉพาะด้านหน้าของธนบัตรด้วยหมึกดำ แสดงภาพขยายสัญลักษณ์พิเศษซึ่งใช้ตรวจพิสูจน์ธนบัตรไว้ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งจริง ทั้งนี้ เมื่อมีการพิจารณาเป็นเรียบร้อยแล้ว จึงจะเป็นขั้นตอนการพิมพ์ตัวอย่างธนบัตร ซึ่งเป็นการพิมพ์เหมือนธนบัตรจริงทุกประการ มักพิมพ์หรือปรุคำว่า SPECIMEN ไว้บนตัวอย่างธนบัตร จากนั้น จึงส่งมาให้พิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนพิมพ์เป็นธนบัตรใช้งาน นับจากกระบวนการคัดเลือกบริษัทผู้จัดพิมพ์ธนบัตรแบบสองตั้งแต่ พ.ศ. 2464-2465 จนถึงการพิมพ์ธนบัตรแบบสองออกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ. 2468 เป็นเวลากว่า 3 ปี แบบทดลองพิมพ์ธนบัตรแบบสองชุดนี้ มีความสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการพิมพ์ธนบัตรที่มีความละเอียดพิถีพิถันและความปลอดภัยอย่างสูงสุด เนื่องจากธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจของประเทศ Proof of Banknote, 2nd Series The proof of banknote, 2nd Series by Thomas de la Rue & Company Limited was printed in black ink on the front of the note. The printed proof paper was thinner and larger than the original banknote. The special symbol, which was engraved on the note for counterfeit examination, was magnified. In addition, black ink helped show the line of engraving clearly. After printing, the proof paper in denominations of 1, 5, 10, 20, 100 and 1000 Baht was affixed on hard paper board, and submitted to the Thai government by Thomas de la Rue & Company Limited. There was more than one proof of the banknote, but the special symbol was not printed on every proof paper. BOT Museum has only one set of the proof of banknote, 2nd Series. The Issue Department, Bank of Thailand transferred the ownership of this set to the Monetary Museum at Surawongse Office on 22 January 1975. The proof of banknote is not only a hard-to-find object but also a useful resource to learn about note printing processes in the past.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา10 บาท
-
แบบและรุ่นแบบ 2 รุ่น 1
-
ขนาดธนบัตร: 19 x 26.3 ซม. (7 1/2 x 10 3/8 ")
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุกระดาษ