งานออกแบบธนบัตร โดยบริษัทวอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัด ชนิดราคา 10 บาท
หลังจากมีการพิมพ์และออกใช้ธนบัตรแบบหนึ่งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 อีกเกือบ 20 ปีต่อมา คือ ราว พ.ศ. 2464-2465 จึงได้มีความคิดจะจัดพิมพ์ธนบัตรแบบสองขึ้นเพื่อออกใช้แทนธนบัตรแบบหนึ่ง เนื่องจากเปลี่ยนรัชกาล กอปรกับธนบัตรที่ใช้อยู่ใกล้จะหมดลง แม้ว่าบริษัทโทมัส เดอ ลา รู จำกัด ของอังกฤษ จะเป็น ผู้พิมพ์ธนบัตรแบบหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว แต่ครั้งนั้น รัฐบาลก็ได้มีการติดต่อบริษัทที่มีชื่อเสียงในการพิมพ์ธนบัตรของประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพื่อนำเสนอแบบ กระบวนการจัดพิมพ์ และราคาพิมพ์ธนบัตรแบบสอง โดยกำหนดเสนอราคาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2466 บริษัทวอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัดจากประเทศอังกฤษ หนึ่งในบริษัทที่ได้รับการติดต่อให้ออกแบบและจัดพิมพ์ธนบัตรแบบสอง เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญงานพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2353 ได้นำเสนองานออกแบบธนบัตรแบบสอง โดยมีองค์ประกอบสำคัญตามลักษณะของธนบัตรในเวลานั้นคือ กำหนดให้ธนบัตรขึ้นเป็นเงินตราโลหะได้ จึงยังมีข้อความ สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม รวมทั้งมีองค์ประกอบสำคัญอื่น เช่น ตัวอักษรและตัวเลขราคา ผู้ออกใช้ ลายมือชื่อเจ้าพนักงาน และเสนาบดีกระทรวงพระคลัง ฯลฯ เช่นเดียวกับธนบัตรแบบหนึ่ง และยังมีการใช้ลวดลายประดิษฐ์จากเครื่องจักรเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมทั้งด้านหน้าและด้านหลังธนบัตร งานออกแบบธนบัตรของบริษัทวอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัด ชิ้นนี้ แสดงให้เห็นขั้นตอนการจัดพิมพ์ธนบัตรออกใช้ในยุคแรก ๆ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผลการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตธนบัตรแบบสองในครั้งนั้นยังคงเป็นบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2504 บริษัทนี้ก็ได้เข้าถือสิทธิ์ในกิจการของบริษัทวอเตอร์โลว์ แอนด์ ซันส์ จำกัด Artwork of Banknote by Waterlow & Sons Company Limited On the artwork of banknotes available at BOT Museum, the fronts have complete elements, while the backs do not have the frame. On the back of the artwork, there is only a guilloche design in the middle and the text that shows the denomination of the banknote. It is noticeable that the artwork was made akin to the actual banknote size. This shows that the designer realized that the Siamese government at the time had already set up the size for each of the banknote denominations. This artwork shared some parts of the banknote 1st Series; there were still the signatures of the Authorized Bank Official and the Minister of Royal Treasury who were Phraya Chaiyos Sombat and H.R.H. Prince Kitiyakara Voralaksana, respectively. As a sample of printing technology, the outstanding feature of this artwork is the rarity. In other words, only one artwork has been found. It is a precious evidence of the early history of the Thai banknote, and it cannot be seen at other places, except for BOT Museum.
คำค้นหา
รายละเอียด
-
ชนิดราคา10 บาท
-
ขนาดธนบัตร: 14.9 x 22.9 ซม. (5 7/8 x 9 ")
-
ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
-
วัสดุกระดาษ