การเสวนา "มองอนาคตด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์ : บทบาทของจดหมายเหตุ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย
เสวนาวิชาการ
เรื่อง "มองอนาคตด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์ : บทบาทของจดหมายเหตุ"
เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโดย หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมจดหมายเหตุไทย ณ ห้องบรรยาย @BOT ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565
คำกล่าวเปิดงาน
ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย ประธานในพิธี เป็นผู้กล่าวเปิดงาน สรุปได้ว่า การจัดเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2565 และเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเอกสารที่เกิดจากการดำเนินงานของหน่วยงาน ซึ่งต้องมีการคัดเลือก ประเมินคุณค่า จัดเก็บ และจัดการตามหลักวิชาจดหมายเหตุ เพื่อรักษาเอกสารสำคัญนั้นไว้ให้สามารถเข้าถึงได้ในระยะยาว เป็นองค์ความรู้ เป็นหลักฐานอ้างอิงการปฏิบัติงาน เป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงประวัติการดำเนินงานและพัฒนาการขององค์กร รวมทั้งเป็นหลักฐานที่จะแสดงให้เห็นถึงธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน นอกจากนี้ การจัดเสวนาในครั้งนี้ยังมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของการพัฒนางานจดหมายเหตุและการจัดการข้อมูล big data ของจดหมายเหตุด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย
คำกล่าวเปิดการเสวนาจดหมายเหตุของ รองผู้ว่าการด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "คุณค่าของคนในสังคมเงินตราสมัยอยุธยา"
ผู้กล่าวปาฐกถา : ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์
ดร.คริสโตเฟอร์ จอห์น เบเกอร์ นักวิจัยอิสระ และนักเขียนด้านการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรมในเอเชีย
ในสมัยอยุธยา มีระบบกำหนดลำดับชั้นของสังคมคือมีระบบศักดินา ซึ่งทุกคนมีการจัดลำดับชั้นมีตัวเลขหน่วยนาไร่ ต่ำสุด ทาส มีศักดินา 5 ไร่ สูงสุด เสนาบดี มีศักดินา 10,000 ไร่ และมีระบบที่วัดศักดินาป็นหน่วยเงินตราด้วย ซึ่งปรากฎในกฎหมายตราสามดวง จะเรียกว่าค่าคน โดยแยกตามอายุและเพศ หรือเรียกว่าดูจากกำลังทำงาน และค่าคนนี้นำมาใช้ในการลงโทษตามน้ำหนักกับศักดินาเมื่อทำผิดอีกด้วย แต่ขณะเดียวกันสามารถแปลงการลงโทษเป็นเงินได้ถ้ามีเงินจ่ายโดยเสียเป็นค่าปรับ ซึ่งปรากฎในเสภาขุนช้างขุนแผน เมื่อขุนช้างแพ้คดีต้องถูกประจาน จึงได้ขอเสียค่าปรับแทน
เสวนา หัวข้อ "มองประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยผ่านจดหมายเหตุ"
ผู้ร่วมเสวนา : รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินรายการ : คุณสุพริศร์ สุวรรณิก สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย นำเสนองานเขียนเรื่อง "รัฐไทยกับการปฏิรูปเศรษฐกิจ" ที่เนื้อหาของผลงานเขียนส่วนหนึ่งได้ข้อมูลมาจากเอกสารจดหมายเหตุในหอจดหมายเหตุของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยค้นคว้าเอกสารนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารการประชุมระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับสมาคมธนาคารไทย เอกสารเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น จนสามารถออกเป็นผลงานเขียนนี้ได้ โดยเนื้อหาของงานเขียนที่นำมาเสวนาในครั้งนี้สรุปได้ว่า จากกำเนิดทุนนิยมนายธนาคารถึงวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 (ปี 2500 – 2540) ทุนนิยมนายธนาคารประกอบด้วย ด้านการปกครอง ด้านข้าราชการ และด้านนายธนาคารพาณิชย์ไทย แต่ละกลุ่มมีทั้งประสานงานอย่างราบรื่นและขัดแย้งกัน มีการส่งเสริมให้มีการลงทุนที่มากขึ้น อำนาจในการจัดสรรสินเชื่ออยู่ที่ธนาคารพาณิชย์ ตลาดเป็นของผู้ให้กู้ และการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้เกิดฐานการผลิตจากต่างประเทศ แต่ประเทศไทยมีการคุ้นเคยระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาโดยตลอด เมื่อมีเสรีทางการเงิน ทำให้นักลงทุนนำเข้าจากต่างประเทศโดยไม่มีการประกันความเสี่ยง เป็นผลให้เกิดวิกฤติ 2540 ขึ้นมา
ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม เป็นผู้เขียนหนังสือครบรอบ 72 ปี ธปท. ซึ่งเนื้อหาของหนังสือกล่าวถึงแนวคิดความเป็นมาของการจัดตั้งธนาคารกลางของประเทศไทย และประวัติการดำเนินงานธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เมื่อแรกตั้ง โดยถ่ายทอดเรื่องราวของธนาคารแห่งประเทศไทยผ่านการทำงานของผู้ว่าการในแต่ละยุคสมัย เนื้อหาของหนังสือได้มาจากการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุ ทั้งที่หอจดหมายเหตุของธนาคารแห่งประเทศไทย และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งจากการค้นเอกสารจดหมายเหตุทำให้พบว่า แนวคิดการจัดตั้งธนาคารกลางเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้เนื่องจากขาดความพร้อมและที่ปรึกษากระทรวงการคลังซึ่งเป็นชาวต่างประเทศไม่เห็นด้วยที่ประเทศไทยจะจัดตั้งธนาคารกลาง แต่ในที่สุด ประเทศไทยก็สามารถจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นมาได้ เริ่มจากการจัดตั้งเป็นสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้นมาก่อนในปี 2483 แต่ยังไม่ได้ดำเนินงานของธนาคารกลางเต็มรูปแบบ และต่อมาในปี 2485 ระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็สามารถจัดตั้งธนาคารกลางคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นมา
เสวนา หัวข้อ "การใช้ Big data กับงานจดหมายเหตุ"
ผู้ร่วมเสวนา : ดร.พรรคธาดา ตรีรัตนพิทักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้เสวนาและผู้ดำเนินรายการ : รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ เปิดประเด็นนำเข้าสู่การเสวนาว่า คนในอดีตมีวิธีคิดอย่างไร เลือกเก็บเอกสารบางอย่างหรือไม่เก็บอะไรบางอย่าง ก็คือการตีค่าการดำเนินงานอย่างหนึ่งผู้ใช้เอกสารในปัจจุบัน ทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึงเอกสารได้ ปัจจุบัน การตัดสินใจการดำเนินงานมีการใช้หลักฐานการดำเนินงานที่ผ่านมา ทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึงเอกสารได้อย่างรวดเร็ว
ดร.พรรคธาดา ตรีรัตนพิทักษ์ การจัดทำ Big Data บริหารจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และหลากหลายข้อมูลที่มีการจัดเก็บ จะบริหารจัดการอย่างไรให้เข้าถึงข้อมูลได้ ในเชิงนำไปวิเคราะห์ หรือหาคำตอบได้ง่าย การนำไปใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีสามารถจะ Public ได้ง่ายขึ้น ถ้าเป็นประชาชนทั่วไป จะได้ดูว่าจะเข้าไปดูที่ส่วนไหน เช่น ภายนอกแบงก์ชาติ ธนาคารกลางจะแสดงความโปร่งใสและจับต้องได้ ภายใน ธปท. สามารถเก็บการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น หรือให้พนักงานใหม่ สามารถรับรู้ถึงประวัติศาสตร์การดำเนินในอดีตได้
รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ กลุ่มคำต่าง ๆ ที่พบในเอกสาร จะนำมาใช้งานควรระวังอย่างไร เนื่องจากเทคโนโลยี AI สามารถทำกับเอกสารขนาดใหญ่ แต่ขณะเดียวกันต้องทำให้ AT เข้าใจคำต่าง ๆ ต้องเข้าใจตรงกัน รูปแบบการสะกดคำและความหมายของภาษาเปลี่ยนแปลงตามวันเวลา เมื่อมีการวิจัยก็มีข้อค้นพบใหม่ แล้วเมทาดาทาที่เขียนไว้ใครจะอัปเดต เอกสารใหม่ก็โถมมา เอกสารเก่าก็ต้องดูแล เทคโนโลยีจึงเป็นทางออก
เสวนา หัวข้อ "คอลเล็กชันจดหมายเหตุเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย"
โดย เครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย
ผู้ร่วมเสวนา :
นพ.บัญชา พงษ์พานิช สุธีรัตนามูลนิธิ บวรนคร
นางสาวพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
นางสาวถนิมรัตน์ แกล้วทนงค์ พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุกรมประชาสัมพันธ์
นายนำพงศ์ ฉิมสุข หอจดหมายเหตุ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
นางสาวโศรยา สุรัญญาพฤติ หอจดหมายเหตุแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายขจรศักดิ์ สูงมูลนาค ฝ่ายบริหารทรัพยากรสื่อ ช่อง 7 HD
นางจิราภรณ์ ศิริธร หอจดหมายเหตุธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

นพ.บัญชา พงษ์พานิช นำเสนอ ว่าแผ่นดินนี้มีเงินตราใช้มาตั้งแต่ 2000 ปีก่อนหรือมั้ย เงินตราที่พบบนคาบสมุทรไทย จากการขุดพบที่กระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานี เหรียญโบราณ สะท้อนการมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยนั้น ซึ่งเป็นเหรียญผลิตที่โรมัน เบ้าจำลองเหรียญโรมัน และอาจมีการผลิตเหรียญปลอมเพื่อนำมาใช้อีกด้วย
นางสาวพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล นำเสนอเอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติจัดเก็บและให้บริการแล้ว ได้แก่ เอกสารกระทรวงการคลัง เอกสารกระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ เอกสารกระทรวงพาณิชยื กรมการค้าต่างประเทศ เอกสารกระทรวงการคลัง โรงงานยาสูบ เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 เอกสารสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ เอกสารจังหวัดภูเก็ต สำนักงานทรัพยากรธรณี และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ
นางสาวถนิมรัตน์ แกล้วทนงค์ นำเสนอสื่อกลางของกรมประชาสัมพันธ์ มีระยะเวลากว่า 90 ปี ทั้งสื่อและเครื่องไม้เครื่องมือในการใช้สื่อ วารสาร แปลงเป็น PDF.file เพื่อให้บริการได้ นำเสนอการเที่ยวพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ กรมประชาสัมพันธ์ และแนะนำคลังแผ่นเสียง Vinyl Museum มีการจัดเก็บ 110,000 แผ่น
นายนำพงศ์ ฉิมสุข นำเสนอชุดเบญจาสาระพิพิธ – พินิจประวัติพัฒนาการด้านสินเชื่อการเกษตรผ่านเอกสารจดหมายเหตุ เพื่อบอกกล่าวถึงประวัติการเป็นมา ทั้งปูมประวัติสินเชื่อการเกษตรไทย การกำเนิน ธกส. ที่มาของดวงตราถุงเงินรวงข้าว ธกส. 5 สาขาแรก เอกสารส่วนหนึ่งในการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ ธกส. มีบางส่วนที่สำเนาจากหอจดหมายเหตุแบงก์ชาติด้วย
นางสาวโศรยา สุรัญญาพฤติ หอจดหมายเหตุ ตั้งอยู่ที่ ณ อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมเอกสาร แผนงาน ผลงานของมหาวิทยาลัย และเอกสารส่วนบุคคลที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เอกสารที่แนะนำ 3 ชุด 1 ปรีดี พนมยงค์ 2 ป๋วย อึ๊งภากร 3.เอกสารการเรียนการสอน
นายขจรศักดิ์ สูงมูลนาค นำเสนอสมบัติของช่อง 7 สามารถเข้าไปดูสต็อกข่าวต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้มากกว่า 30 ปี ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.ch7.com/7HDStock ภาพเล่านี้สะท้อนเรื่องราวในอดีตได้ และที่นำมารวบรวมนี้ยังมีส่วนที่ไม่ได้นำเสนอข่าวใน 1 นาที ก็สามารถมาดูที่นี้ได้
นางจิราภรณ์ ศิริธร นำเสนอ Collection โครงการประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ธนาคารแห่งประเทศไทย 3 โครงการ ได้แก่ ระบบการคลังและการธนาคารของไทย พ.ศ. 2483 – 2492, วิวัฒนาการกิจการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย, ความเป็นมาของธุรกิจธนาคารสาขาในประวัติศาสตร์ไทย ปัญหาของการให้บริการเอกสารชุดนี้คือการกล่าวถึงบุคคลที่สาม และความคิดเห็นของบุคคลที่สาม จึงยังต้องมีกระบวนการเข้าถึงเอกสารชุดนี้
การแสดงโปสเตอร์ผลงานของหอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในการจัดเสวนาครั้งนี้มุ่งให้เห็นความสำคัญของการพัฒนางานจดหมายเหตุและการจัดการข้อมูล big data ของจดหมายเหตุด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกด้วย จึงได้จัดแสดงโปสเตอร์งานของหอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 9 โปสเตอร์ ประกอบด้วย
แนะนำ หอจดหมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทย
การจัดการ Blaclog กับจดหมายเหตุ ธปท.
การประชุมคณะกรรมการ ธปท. 2485-2544 Viz Art
การประชุมคณะกรรมการ ธปท. 2485-2544 Viz Art