การล่มลายของระบบเบรตตันส์วูดส์
ในวันที่ 15 สิงหาคม 2514 ประวัติศาสตร์การเงินของโลกได้บันทึกไว้ว่า เป็นวัน ‘Nixon’s Shock’ เนื่องจากเป็นวันที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นทองคำ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณการล่มสลายของระบบค่าเสมอภาค หรือระบบ Bretton Woods ในเวลาต่อมา ในช่วงเวลานี้ ทางการไทยได้มีการปรับค่าเงินบาทที่สำคัญทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือ ในปี 2515 จำนวน 1 ครั้ง และในปี 2516 จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์ สรอ. และให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป (ตามเอกสารเลขที่ DAC013-000-001 สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศ และเอกสารเลขที่ DAC013-000-002 สรุปวิกฤติการณ์การเงินระหว่างประเทศ พ.ค. - ส.ค. 2514) ก่อนหน้าการประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นทองคำ ระบบการเงินของโลกผูกค่าเงินไว้กับทองคำมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเริ่มส่อเค้าความไม่มั่นคงมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2510 โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการเงินระหว่างประเทศในช่วงนี้ มีพื้นฐานมาจากสาเหตุสองประการ คือ เรื่องการขาดวินัยในการรักษาดุลการชำระเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และการขาดกลไกในการปรับดุลการชำระเงินที่เข้มงวดกวดขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญ ๆ มีการขาดดุลหรือเกินดุลเป็นจำนวนมากและเป็นเวลานานเกินไปทำให้เกิดการโยกย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อเก็งกำไร ในกรณีของประเทศสหรัฐฯ ได้ประสบปัญหาขาดดุลการชำระเงินมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2493 การขาดดุลทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ สรอ. ในมือของประเทศอื่น ๆ (โดยเฉพาะเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี) เพิ่มขึ้น และสามารถใช้เงินดอลลาร์ สรอ. มาแลกทองคำสำรองของสหรัฐฯ ได้มากขึ้น จนทำให้เงินสำรองของสหรัฐฯ ลดลง นอกจากนั้น หนี้สินดอลลาร์ สรอ. ระยะสั้นในต่างประเทศมีสูงกว่าปริมาณทองคำสำรองอยู่หลายเท่าตัว สถานการณ์เหล่านี้จึงเป็นบ่อเกิดของความไม่มั่นใจในค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเงินสำรองระหว่างประเทศ และทำให้การรักษาค่าทองคำให้อยู่ที่ระดับ 35 ดอลลาร์ สรอ. ต่อออนซ์ยากมากขึ้น ในที่สุดประธานาธิบดีนิกสัน จึงประกาศงดรับแลกเปลี่ยนดอลลาร์ สรอ. เป็นทองคำ เมื่อสหรัฐฯ ประกาศลดค่าเงินอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2515 ประเทศไทยจึงประกาศปรับค่าเสมอภาคของเงินบาทในวันเดียวกันจากเดิม 1 บาทต่อทองคำบริสุทธิ์ 0.0427245 กรัม เป็น 0.0393516 กรัม การปรับค่าเงินครั้งแรกนับเป็นเรื่องสำคัญในยุคนั้นมาก ถึงแม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์ สรอ. ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่เป็นเพราะเป็นการปรับค่าเงินครั้งแรกนับตั้งแต่ประเทศไทยมีการกำหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทมาตั้งแต่ปี 2506 (ตามเอกสารเลขที่ DAC013-000-003 บันทึกเรื่องนโยบายค่าเงินบาท (ฝ่ายวิชาการ) เอกสารเลขที่ DAC013-000-004 สรุปผลดีและผลเสียเปรียบเทียบระหว่างการกำหนดค่าเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-005 คำชี้แจงของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสารเลขที่ DAC013-000-006 แถลงการณ์คณะปฏิวัติ เรื่องการกำหนดค่าของเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-007 การลดค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เอกสารเลขที่ DAC013-000-008 บันทึกเพิ่มเติม เรื่องการลดค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และเอกสารเลขที่ DAC013-000-009 การปรับค่าของเงินบาท โดยนายชวลิต ธนะชานันท์ ซึ่งทำให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้เกิดผลเสียต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศน้อยที่สุด) ในเวลาต่อมา เมื่อตลาดการเงินระหว่างประเทศได้เริ่มปั่นป่วนขึ้นอีกครั้ง และเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นขึ้นจำนวนมาก ทำให้อังกฤษต้องลอยตัวค่าเงินของตน อิตาลีหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนสองอัตรา สวิสเซอร์แลนด์ต้องปิดตลาดเงินตราต่างประเทศ เป็นต้นเหตุการณ์นี้ได้ทำให้สหรัฐฯ จำเป็นต้องลดค่าเงินเป็นครั้งที่สอง โดยประกาศลดค่าเงินดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับทองคำในเดือนกุมภาพันธ์ 2516 จาก 38 ดอลลาร์ สรอ. เป็น 42.22 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทองคำ 1 ออนซ์ หรือลดลงร้อยละ 10 จากนั้นหลายประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นก็เริ่มลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนอย่างอิสระ ในระยะนี้ ระบบ Bretton Woods จึงสลายตัวไปโดยปริยาย (ตามเอกสารเลขที่ DAC013-000-010 วิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศ) และเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2516 ประเทศไทยได้ประกาศปรับค่าเสมอภาคเงินบาทลงร้อยละ 10 เช่นเดียวกับเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อรักษาให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทกับดอลลาร์ สรอ. ยังอยู่ในอัตรา 20.80 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. เช่นเดิม (ตามเอกสารเลขที่ DAC013-000-011 คำแถลงข่าวเรื่องค่าเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-012 บันทึกประกอบการพิจารณากำหนดค่าเสมอภาคของบาท และเอกสารเลขที่ DAC013-000-013 บันทึกเรื่องวิกฤติการณ์ดอลลาร์และค่าเงินบาท) หลังจากนั้น ในกลางปี 2516 เมื่อมีการลอยตัวเงินสกุลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งมีค่าสูงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. เงินบาทที่ผูกกับการปรับค่าเงินตามสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. จึงมีค่าต่ำลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นทั้ง ๆ ที่ฐานะดุลการค้าและการชำระเงินของประเทศไม่ได้เสื่อมลง ทำให้เกิดข้อกังวลถึงปัญหาเงินเฟ้อ ธปท. จึงเสนอให้มีการปรับปรุงค่าเงินบาทให้เพิ่มขึ้น 4% เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาสินค้าในประเทศสูงขึ้น ทั้งนี้จากผลการพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง จึงเกิดการปรับค่าเงินครั้งที่สามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2516 ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างบาทกับดอลลาร์ สรอ. เป็น 20.00 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. (จาก 1 บาทเท่ากับทองคำบริสุทธิ์ 0.0354164 กรัมเป็น 0.0368331 กรัม) รายงานเศรษฐกิจการเงิน ธปท. ได้อธิบายว่า การเพิ่มค่าเงินครั้งนี้ “เป็นการปรับให้ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญต่าง ๆ กลับไปอยู่ระดับเดิม เพื่อช่วยไม่ให้ราคาสินค้าเข้าสูงขึ้นเนื่องจากการลอยตัวของเงินตราบางสกุล” พร้อมกันกับการกำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกไว้กับทองคำบริสุทธิ์ใหม่ ประเทศไทยยังได้แจ้งต่อกองทุนการเงินเพื่อขอให้เงินบาทสามารถเคลื่อนไหวในช่วงที่กว้างมากขึ้น คือ แทนที่จะเป็นร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.25 หลังการปรับในครั้งนี้แล้ว ธปท. ก็สามารถรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนนี้ไว้ได้ตลอดมาจนถึงปี 2521 (ตามเอกสารเลขที่ DAC013-000-014 ข้อเท็จจริงและนโยบายเกี่ยวกับภาวะสินค้าขึ้นราคา เอกสารเลขที่ DAC013-000-015 หนังสือจาก ก.คลัง ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องค่าเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-016 คำชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องค่าเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-017 แถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคของบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-018 การสัมภาษณ์ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและปลัดกระทรวงการคลังทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 เอกสารเลขที่ DAC013-000-019 การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ เอกสารเลขที่ DAC013-000-020 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยชี้แจงเกี่ยวกับการปรับค่าเงินบาทและสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ เอกสารเลขที่ DAC013-000-021 สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศและการขึ้นค่าเงินบาท เอกสารเลขที่ DAC013-000-022 บันทึกช่วยจำเรื่องการประชุมของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับค่าเงินบาท และเอกสารเลขที่ DAC013-000-023 บันทึกเรื่องผลของการปรับค่าเงินบาท) • 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 นิกสันช็อก (ประธานาธิบดีนิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศงดรับแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เป็นทองคำ เนื่องจากมีการนำเงินดอลลาร์จากต่างประเทศมาแลกเป็นทองคำจากทุนสำรองของสหรัฐจำนวนมาก) o DAC013-000-001 สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศ o DAC013-000-002 สรุปวิกฤติการณ์การเงินระหว่างประเทศ พ.ค. - ส.ค. 2514 • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 มีการปรับลดค่าเงินบาทครั้งแรก นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการกำหนดค่าเสมอภาคของเงินบาทเมื่อปี 2506 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เป็นการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเป็นขั้นเป็นตอน ขณะเดียวกันก็ต้องรวดเร็วทันท่วงที เพื่อให้ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจของประเทศน้อยที่สุด o DAC013-000-003 บันทึกเรื่องนโยบายค่าเงินบาท (ฝ่ายวิชาการ) o DAC013-000-004 สรุปผลดีและผลเสียเปรียบเทียบระหว่างการกำหนดค่าเงินบาท o DAC013-000-005 คำชี้แจงของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย o DAC013-000-006 แถลงการณ์คณะปฏิวัติ เรื่องการกำหนดค่าของเงินบาท o DAC013-000-007 การลดค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา o DAC013-000-008 บันทึกเพิ่มเติม เรื่องการลดค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา o DAC013-000-009 การปรับค่าของเงินบาท โดยนายชวลิต ธนะชานันท์ • วิกฤติการณ์การเงินระหว่างประเทศ พ.ศ. 2516 DAC013-000-010 วิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศ o อังกฤษประกาศลอยตัวค่าเงิน o อิตาลีหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนสองอัตรา o สวิสเซอร์แลนด์ต้องปิดตลาดเงินตราต่างประเทศ o กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 สหรัฐประกาศลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ o หลายประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นก็เริ่มลอยตัวอัตราแลกเปลี่ยนอย่างอิสระ o ระบบ Bretton Woods จึงสลายตัวไปโดยปริยาย • 10 เมษายน พ.ศ. 2516 ปรับลดค่าเสมอภาคเงินบาท ครั้งที่ 2 o DAC013-000-011 คำแถลงข่าวเรื่องค่าเงินบาท o DAC013-000-012 บันทึกประกอบการพิจารณากำหนดค่าเสมอภาคของบาท o DAC013-000-013 บันทึกเรื่องวิกฤติการณ์ดอลลาร์และค่าเงินบาท • กลางปี 2516 o เมื่อมีการลอยตัวเงินสกุลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งมีค่าสูงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. o เงินบาทที่ผูกกับการปรับค่าเงินตามสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. จึงมีค่าต่ำลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ทั้ง ๆ ที่ฐานะดุลการค้าและการชำระเงินของประเทศไม่ได้เสื่อมลง o ทำให้เกิดข้อกังวลถึงปัญหาเงินเฟ้อ • 15 กรกฎาคม 2516 ปรับเพิ่มค่าเงินบาท o “เป็นการปรับให้ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญต่าง ๆ กลับไปอยู่ระดับเดิม เพื่อช่วยไม่ให้ราคาสินค้าเข้าสูงขึ้นเนื่องจากการลอยตัวของเงินตราบางสกุล” o กำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกไว้กับทองคำบริสุทธิ์ใหม่ o ประเทศไทยยังได้แจ้งต่อกองทุนการเงินเพื่อขอให้เงินบาทสามารถเคลื่อนไหวในช่วงที่กว้างมากขึ้น คือ แทนที่จะเป็นร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.25 หลังการปรับในครั้งนี้แล้ว ธปท. ก็สามารถรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนนี้ไว้ได้ตลอดมาจนถึงปี 2521 DAC013-000-014 ข้อเท็จจริงและนโยบายเกี่ยวกับภาวะสินค้าขึ้นราคา DAC013-000-015 หนังสือจาก ก.คลัง ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องค่าเงินบาท DAC013-000-016 คำชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องค่าเงินบาท DAC013-000-017 แถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง เรื่องการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคของบาท DAC013-000-018 การสัมภาษณ์ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและปลัดกระทรวงการคลังทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 DAC013-000-019 การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ DAC013-000-020 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยชี้แจงเกี่ยวกับการปรับค่าเงินบาทและสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ DAC013-000-021 สถานการณ์การเงินระหว่างประเทศและการขึ้นค่าเงินบาท DAC013-000-022 บันทึกช่วยจำเรื่องการประชุมของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับค่าเงินบาท DAC013-000-023 บันทึกเรื่องผลของการปรับค่าเงินบาท