ชุดเอกสารจดหมายเหตุ

ภาวะเศรษฐกิจเจริญเติบโตในระดับสูงและการผ่อนคลายข้อจำกัดในระบบการเงินครั้งใหญ่

ในช่วงปี 2530 - 2533 เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 11.7 ต่อปี การส่งออกขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 20.1 ต่อปี การก้าวสู่ยุคทองของเศรษฐกิจเป็นผลจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ 1. การลดค่าเงินบาททำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยด้านการส่งออกดีขึ้น 2. หลังจากปี 2531 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการลงทุนจากญี่ปุ่นและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย และ 3. การยกเลิกภาษีขาออกกระตุ้นการส่งออก ในขณะที่ต้นทุนค่าจ้างแรงงานของไทยยังต่ำและสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งสำคัญได้ การที่เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวในระดับสูง รวมทั้งโครงสร้างทางเศรษฐกิจแปรเปลี่ยนไปสู่ระบบที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นตัวนำนั้น ทำให้เกิดความต้องการบริการทางการเงินในรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ธปท. ได้พยายามปรับความสมดุลระหว่างการพัฒนาและความเติบโตของภาคการเงิน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาภาคเศรษฐกิจจริงที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการเตรียมความพร้อมของสถาบันการเงิน และการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงิน ซึ่งนอกจากจะเป็นการตอบสนองต่อความต้องการภายในแล้ว ยังเป็นการรองรับการแข่งขันจากต่างประเทศ (ตามเอกสารเลขที่ DAC017-000-002 คอลัมน์คุณซูม เอกสารเลขที่ DAC017-000-003 ประเด็นแถลงข่าว เอกสารเลขที่ DAC017-000-018 การรับพันธะข้อ 8 แห่งข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศและการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เอกสารเลขที่ DAC017-000-019 เทคนิคการบริหารเงินของประเทศ) ดังนั้น ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา ธปท. จึงดำเนินนโยบายการปฏิรูประบบการเงิน โดยมีเป้าหมายให้มีการระดมและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถรองรับการเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมความพร้อมให้สถาบันการเงินไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยลดบทบาทของทางการในการแทรกแซงตลาดการเงิน เพื่อการแข่งขันของสถาบันการเงิน ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือและบริการของตลาดการเงิน เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบความต้องการด้านต่าง ๆ มากขึ้น โดยมีแผนงานที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1. การผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งทางด้านอัตราดอกเบี้ย การบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน การปริวรรตเงินตรา และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน 2. การปรับปรุงการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน 3. การพัฒนาตราสารทางการเงิน 4. การปรับปรุงระบบการชำระเงิน ในยุคนี้ เป็นช่วงเวลาที่ ธปท. ได้ปรับบทบาทจากการควบคุมระบบการเงินเป็นการส่งเสริมให้การดำเนินกิจกรรมทางการเงินเป็นไปได้อย่างเสรีตามกลไกตลาด (ตามเอกสารเลขที่ DAC017-000-001 สรุปการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เอกสารเลขที่ DAC017-000-004 แนวนโยบายการเปิดเสรีตลาดทางการเงิน เอกสารเลขที่ DAC017-000-005 แนวทางการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบกิจการวิเทศธนกิจ เอกสารเลขที่ DAC017-000-007 การประชุมคณะทำงานการค้าบริการในกรอบการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย) ภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรงของประเทศไทย กอปรกับการผ่อนคลายทางการเงินและการเปิดเสรีทางด้านเงินทุนในช่วงปี 2530 เป็นต้นมา ทำให้เงินไหลเข้าสุทธิของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 3% ต่อ GDP ในช่วงปี 2526 - 2531 มาเป็นกว่า 11% ในช่วงปี 2532 - 2538 ในช่วงที่มีมาตรการผ่อนคลายด้านอัตราดอกเบี้ยและเงินทุน ควบคู่ไปกับการอนุญาตให้มีธุรกิจกิจการวิเทศธนกิจนั้น เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ประเทศไทยระดมเงินทุนจากต่างประเทศ นอกจากนั้น การที่ทางการได้รักษาให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อเทียบกับตะกร้าเงิน ทำให้ผู้กู้ยืมต่าง ๆ คิดว่าการกู้ยืมหนี้ต่างประเทศจะไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน จึงไม่มีการประกันความเสี่ยงและเป็นแรงจูงใจให้เกิดการก่อหนี้ต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2538 เป็นปีที่เงินทุนไหลเข้าประเทศมูลค่าสูงสุด 20,849 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากปี 2535 เงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสองด้าน คือ 1) เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของการใช้จ่ายในประเทศ จากสภาพคล่องและสินเชื่อของสถาบันการเงินขยายตัวได้มากขึ้น โดยในปี 2533 - 2539 สินเชื่อจากสถาบันการเงินให้แก่ภาคเอกชนขยายตัวเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 24 และ 2) เป็นปัจจัยที่สร้างความเสี่ยงเพิ่มเติมให้แก่สถาบันการเงินในการทำธุรกิจ เงินทุนเหล่านี้ไหลเข้าผ่านช่องทางระบบสถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารพาณิชย์ และกิจการวิเทศธนกิจ ซึ่งเป็นกิจการของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศและระดมทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากภาครัฐสร้างแรงจูงใจให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับช่องทางกิจการวิเทศธนกิจ ช่องทางนี้จึงเป็นช่องทางที่นิยมและมีเงินทุนไหลเข้าผ่านมากที่สุด (ตามเอกสารเลขที่ DAC017-000-006 กำเนิด BIBF เอกสารเลขที่ DAC017-000-008 สถานะล่าสุดของการเจรจา GATT เรื่องFinancial Services เอกสารเลขที่ DAC017-000-009 การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค เอกสารเลขที่ DAC017-000-010 แนวทางการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค เอกสารเลขที่ DAC017-000-011 การพัฒนากิจการวิเทศธนกิจในประเทศไทยเส้นทางก้าวสู่ศูนย์กลางการเงินครบวงจร เอกสารเลขที่ DAC017-000-012 บันทึก นโยบาย BIBF เอกสารเลขที่ DAC017-000-013 การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินปัจจุบัน เอกสารเลขที่ DAC017-000-014 คำแถลงข่าว เรื่องการอนุมัติให้จัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (International Banking Facilities BIBF) ขึ้นในประเทศไทย เอกสารเลขที่ DAC017-000-015 แนวทางพัฒนาตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เอกสารเลขที่ DAC017-000-016 ผลกระทบการเป็นศูนย์กลางการเงินต่อการดำเนินนโยบายการเงิน) แต่ก็เกิดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดขึ้นในปี 2534 (ตามเอกสารเลขที่ DAC017-000-017 แนวทางการแก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด) นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนมีการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในการระดมเงินออม โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากมาก จึงเกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากบางส่วนจากธนาคารพาณิชย์มายังบริษัทเงินทุน ดังนั้น การเลือกที่จะระดมเงินจากต่างประเทศที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าผ่านกิจการวิเทศธนกิจ จึงเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดสำหรับธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้กิจการวิเทศธนกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยอดคงค้างสินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจคิดเป็นสัดส่วน 20% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ ปรากฏการณ์เงินทุนไหลเข้ายังทำให้โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเปลี่ยนแปลงไป สถาบันการเงินต่าง ๆ มีหนี้ระยะสั้นจำนวนสูง ในปี 2535 - 2539 ธนาคารพาณิชย์มีหนี้ระยะสั้นเฉลี่ยกว่า 75% ของหนี้เอกชน ประเทศไทยจึงกลายเป็นประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นจำนวนมากผ่านระบบสถาบันการเงิน การที่มีหนี้ระยะสั้นจำนวนมากในขณะที่การปล่อยกู้ของสินเชื่อเป็นระยะยาว ทำให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงที่เจ้าหนี้อาจจะไม่ต่ออายุหรือฝากเงินต่อ (Maturity Mismatch) ดังนั้น จนกระทั่งในปี 2537 ภาระหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ หากเจ้าหนี้ต่างประเทศทุกรายเรียกเก็บเงินคืนพร้อมกัน ประเทศไทยอาจไม่มีเงินตราต่างประเทศไปให้ได้เพียงพอ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าหวั่นวิตกต่อระบบสถาบันการเงินไทยที่จะนำพาไปสู่การโจมตีค่าเงินบาท ไทม์ไลน์ ภาวะเศรษฐกิจเจริญเติบโตในระดับสูง และการผ่อนคลายข้อจำกัดในระบบการเงินครั้งใหญ่ • ในช่วงปี 2530 - 2533 เศรษฐกิจไทยก้าวสู่ยุคทองของเศรษฐกิจ สามารถขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 11.7 ต่อปี เป็นผลจาก o การลดค่าเงินบาททำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยด้านการส่งออกดีขึ้น o หลังจากปี 2531 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะการลงทุนจากญี่ปุ่นและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย o การยกเลิกภาษีขาออกกระตุ้นการส่งออก • ทำให้เกิดความต้องการบริการทางการเงินในรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น o ธปท. ได้พยายามปรับความสมดุลระหว่างการพัฒนาและความเติบโตของภาคการเงิน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาภาคเศรษฐกิจจริงที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การเตรียมความพร้อมของสถาบันการเงิน การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงิน DAC017-000-002 คอลัมน์คุณซูม DAC017-000-003 ประเด็นแถลงข่าว DAC017-000-018 การรับพันธะข้อ 8 แห่งข้อตกลงว่าด้วยกองทุนการเงินระหว่างประเทศและการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน DAC017-000-019 เทคนิคการบริหารเงินของประเทศ • ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา ธปท. จึงดำเนินนโยบายการปฏิรูประบบการเงิน o แผนงานที่สำคัญ 4 ด้าน การผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งทางด้านอัตราดอกเบี้ย การบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน การปริวรรตเงินตรา และการขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงิน • มาตรการผ่อนคลายด้านอัตราดอกเบี้ยและเงินทุน ควบคู่ไปกับการอนุญาตให้มีธุรกิจกิจการวิเทศธนกิจนั้น เป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ประเทศไทยระดมเงินทุนจากต่างประเทศ o เงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสองด้าน  เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของการใช้จ่ายในประเทศ  เป็นปัจจัยที่สร้างความเสี่ยงเพิ่มเติมให้แก่สถาบันการเงินในการทำธุรกิจ ช่องทางนี้จึงเป็นช่องทางที่นิยมและมีเงินทุนไหลเข้าผ่านมากที่สุด การปรับปรุงการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน การพัฒนาตราสารทางการเงิน การปรับปรุงระบบการชำระเงิน DAC017-000-006 กำเนิด BIBF DAC017-000-008 สถานะล่าสุดของการเจรจา GATT เรื่องFinancial Services DAC017-000-009 การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค DAC017-000-010 แนวทางการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค DAC017-000-011 การพัฒนากิจการวิเทศธนกิจในประเทศไทยเส้นทางก้าวสู่ศูนย์กลางการเงินครบวงจร DAC017-000-012 บันทึก นโยบาย BIBF DAC017-000-013 การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินปัจจุบัน DAC017-000-014 คำแถลงข่าว เรื่องการอนุมัติให้จัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (International Banking Facilities BIBF) ขึ้นในประเทศไทย DAC017-000-015 แนวทางพัฒนาตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ DAC017-000-016 ผลกระทบการเป็นศูนย์กลางการเงินต่อการดำเนินนโยบายการเงิน DAC017-000-017 แนวทางการแก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด o ปรับบทบาทจากการควบคุมระบบการเงินเป็นการส่งเสริมให้การดำเนินกิจกรรมทางการเงินเป็นไปได้อย่างเสรีตามกลไกตลาด DAC017-000-001 สรุปการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน DAC017-000-004 แนวนโยบายการเปิดเสรีตลาดทางการเงิน DAC017-000-005 แนวทางการอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบกิจการวิเทศธนกิจ DAC017-000-007 การประชุมคณะทำงานการค้าบริการในกรอบการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย • บริษัทเงินทุนมีการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ในการระดมเงินออม o ส่งผลให้กิจการวิเทศธนกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยอดคงค้างสินเชื่อของกิจการวิเทศธนกิจคิดเป็นสัดส่วน 20% ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศ o ทำให้โครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเปลี่ยนแปลงไป สถาบันการเงินต่าง ๆ มีหนี้ระยะสั้นจำนวนสูง ในปี 2535 - 2539 ธนาคารพาณิชย์มีหนี้ระยะสั้นเฉลี่ยกว่า 75% ของหนี้เอกชน o จนกระทั่งในปี 2537 ภาระหนี้ระยะสั้นภาคเอกชนมีมูลค่าสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ o การที่มีหนี้ระยะสั้นจำนวนมากในขณะที่การปล่อยกู้ของสินเชื่อเป็นระยะยาว ทำให้สถาบันการเงินมีความเสี่ยงที่เจ้าหนี้อาจจะไม่ต่ออายุหรือฝากเงินต่อ (Maturity Mismatch) o นับเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าหวั่นวิตกต่อระบบสถาบันการเงินไทยที่จะนำพาไปสู่การโจมตีค่าเงินบาท

เลขชุดเอกสาร
DAC017
ชื่อชุดเอกสาร
ภาวะเศรษฐกิจเจริญเติบโตในระดับสูงและการผ่อนคลายข้อจำกัดในระบบการเงินครั้งใหญ่
ช่วงปีของชุดเอกสาร
1989 1999
จำนวนแผ่นเอกสาร
3
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้