กิจกรรม

บันทึก BOOKTALK: หนังสือวิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี

วันที่จัดงาน
24 พ.ค. 2019


บันทึก BOOKTALK: หนังสือ วิวัฒนาการของเงินจากหอยเบี้ยสู่คริปโทเคอเรนซี

สรุปเนื้อหากิจกรรม BOOKTALK บรรยายโดย ศ.ดร. อาณัติ ลีมัคเดช

25 พฤษภาคม 2562  ณ ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย

+++++++++++++++++++++++++++++

สวัสดีครับ

          วันนี้เรามีเวลาชั่วโมงครึ่ง ที่ผมเตรียมมาก็คือชั่วโมงแรกจะเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ของเงิน เรื่องราวเก่าในอดีตจนถึงปัจจุบัน และครึ่งชั่วโมงหลังเป็น Cryptocurrency

          ช่วงอายุของคน 60-70 ปี เป็นช่วงเวลาอันสั้น ทุกคนอยู่ด้วยความสงบสุขถ้าทุกคนเข้าใจหลักการ บรรพบุรุษในอดีตสร้างกันมา กว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมดังเช่นปัจจุบัน มีการลองผิดลองถูก บางทีต่อสู้กันบ้าง ทะเลาะกันบ้าง วันนี้เรากำลังดูภาพการทำ trade war นำไปสู่สงคราม อาจจะได้บทเรียนจากเรื่องที่เราพูดคุยกันในวันนี้


เริ่มย้อนอดีตของมนุษย์ ตั้งแต่มนุษย์ถ้ำ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตศักราช หลักฐานที่เราเห็นอยู่ต้องเรียกว่าลางเลือนมาก ๆ  เช่น สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ที่อังกฤษ จนถึงทุกวันนี้ยังเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนสร้าง สร้างเพื่ออะไร ยุคแรก ๆ เรายังไม่มีหลักฐานอะไร เราเจอจากซากว่ามีการค้าการแลกเปลี่ยน ต้องใช้จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ประมาณ 8,000 ปีที่แล้ว จากหลักฐานมนุษย์เริ่มรู้จักการแลกเปลี่ยนเป็นครั้งแรก นั่นหมายความว่าเริ่มเกิดการทำงานในสิ่งที่ถนัดและนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน นึกภาพระบบการแลกเปลี่ยนในขณะนั้นยังไม่มีรัฐบาล วิธีการง่ายที่สุดคือ ใช้ระบบ Barter System เช่น ต่างคนต่างมีสินค้า กระต่ายแลกกับปลา ต้องหาคนที่มีความต้องการที่ตรงกัน ใช้เวลานาน ปลากับกระต่ายเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ลงตัวไหม หรือปลา 1 ตัวเท่ากับหูกระต่าย 1 ข้าง ต้องหิ้วกระต่ายไปตัดหู 1 หู หากกระต่ายตายการเก็บรักษาซากเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องวุ่นวาย สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ อัตราแลกเปลี่ยนถ้าอยู่ในสังคมที่คนใช้ระบบแลกเปลี่ยนของ จะมีอัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาสินค้ากี่ราคา ต้องมีราคาปลา 1 ตัวแลกกับกระต่าย หรือปลา 1 ตัวแลกกับเม่น สมมติในสังคมแบบนี้เรามีสินค้า 100 ชนิด เราต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดกี่อัตรา เรามีของ 100 ชิ้น จะต้องมีอัตราแลกเปลี่ยน     = 4,950 อัตรา ที่คนในสังคมต้องจำ

          จากมนุษย์ถ้ำ เริ่มมีอารยธรรมแรกของมนุษยชาติที่ย้อนหลักฐานได้อยู่ที่เมโสโปเตเมีย ชาวสุเมเรียน ปัจจุบันคือประเทศอิรัก ชาวสุเมเรียนเลือกใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนกัน แก้ปัญหาลดอัตราแลกเปลี่ยนลง ใช้สินค้าเทียบกับข้าวบาร์เลย์ 1 ลิตรเรียก 1 สิรา

ค่าแรงคนงานผู้ชาย 1 คน = 60 สิรา ลองคิด เมื่อเช้าผมถามภรรยา ว่าข้าว 1 ลิตรกินได้กี่คน เขาบอกว่าคงจะภายในครอบครัวไม่กี่คน หมายความว่าคนงานในสมัยก่อน คุณมีชีวิตในครอบครัวกินข้าวได้วันละ 2 มื้อ เงินเดือนแค่ให้มีข้าวกินวันละ 2 มื้อ ไม่ต้องคิดสะสมอะไรมากมาย ผู้หญิง สังคมในอดีตค่อนข้างให้ความสำคัญต่ำกว่า ได้ค่าแรง 30 สิรา

          ยุคนี้ถอยร่นมา 3,000 ปี มีสื่อในการแลกเปลี่ยน เริ่มใช้ข้าวบาร์เลย์ เพราะเป็น commodity เป็นสิ่งดำรงชีพ เพราะทุกคนต้องกินข้าว จึงใช้ข้าวเป็นสิ่งตอบแทนแรงงาน แต่มีข้อจำกัด คือจะเก็บรักษาข้าวอย่างไร ต้องมีฉางข้าวรักษา การจะซื้อบ้านสักหลังต้องใช้ข้าวกี่เกวียน ไม่สะดวกในการทำธุรกรรม แต่ในระยะเวลานั้น นับเป็นระบบการเงินแรกที่ดีกว่า Barter System

มีนักโบราณคดีค้นพบหลักศิลาจารึกที่บันทึกอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) พร้อมกับอักษรเปอร์เซียโบราณ มีคนพยายามถอดอักษรหลายปี จน William Stanley Jevons พบหลักที่เทียบเคียง  จึงแปลภาษานี้ได้ เห็นกฎหมายเก่า เข้าใจว่าชีวิตเขาอยู่อย่างไร เริ่มมีการบันทึกบัญชี การอ้างอิงจากข้าวบาร์เลย์มีข้อดีแต่ก็มีข้อเสียมาก

ถัดมาอีก 1,000 ปี เริ่มเกิดเหรียญแรก เป็นเหรียญที่เอาเงิน (ซิลเวอร์) มาปั๊ม ดังนั้น ต้องมีรัฐบาลที่จะบอกว่าเหรียญมีค่า ซึ่งแท้จริงเป็นสิ่งสมมติ ถ้าท่านอยู่ในโลกยุคนั้นเมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว และมีคนมาบอกว่า เดิมใช้ระบบข้าวบาร์เลย์และบอกว่าให้ใช้เหรียญ จะมีคนยอมรับเหรียญหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับจะทำอย่างไร ทำไมต้องเป็นเงิน ใช้เงิน เนื่องจากหายาก ถ้าเอาดินเผาทุกคนคงทำได้ เพราะเงินเป็นสิ่งสมมติที่มีค่าถึงแม้เปลี่ยนรัฐบาลก็สามารถนำไปหลอมได้


          ก่อนเริ่มกิจกรรม ผช.ผอ.วรรณา ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้พาชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตรงกับเรื่องที่คุยกันวันนี้ ได้เห็นเหรียญลิเดีย เหรียญกษาปณ์ เหรียญแรกของโลก เมื่อ 640 ปีก่อนคริสตศักราช  เป็นเหรียญที่กษัตริย์ออกใช้ เป็นต้นกำเนิดเหรียญที่ตอกประทับตราสัญลักษณ์เป็นครั้งแรก อาณาจักรลิเดียปัจจุบันคือตุรกี แถบเปอร์เซียยังคงเป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก สืบทอดอำนาจ 3,000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช จากนั้นอาณาจักรกรีกเริ่มเกิด กรีกเป็นมหาอำนาจยุคถัดไป

ข้ามยุคมาที่โรมัน เกิดเหรียญเรียก Denarius มีระบบจักรพรรดิ เริ่มเอาหน้าตัวเองไปใส่ที่เหรียญด้านหนึ่งและอีกด้านเป็นเทพีหรือเทพเจ้า  กลายเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันในหลายประเทศ เรียกสกุลเงิน Dinar   


เงินกระดาษเกิดขึ้นครั้งแรกที่ไหน จีนเริ่มพัฒนาเงินกระดาษถือเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ราชวงศ์ซ่งเริ่มใช้เงินกระดาษเรียก Jiaozi เมื่อ ค.ศ. 600 กว่า ๆ เกิดการพัฒนามากในราชวงศ์หยวน วัฒนธรรมจีนถูกถ่ายทอดไปยุโรป รวมทั้งเงินกระดาษ

ขบวนการเปาเปียว ทำไมจึงต้องมีขบวนการนี้ เหตุผลคือเงินกระดาษพวกนี้ จริงๆ แล้วเป็นตั๋วแลกเงิน ถ้าดูจากหนังจีนคุณชายเดินทางไปที่ต่าง ๆ ถ้าไม่พอใจอะไร ถ้าเป็นคุณชายระดับล่างก็ควักตำลึงทอง "เสี่ยวเอ้อเหมาปิดร้าน" ถ้าระดับราชวงศ์ใหญ่หน่อยอาจควักกระดาษบอก "ซื้อทั้งร้าน"  วิธีการอาจเกิดสำนักตั๋วแลกเงิน โดยฝากเงินไว้ที่เมืองหนึ่งและไปใช้เงินอีกเมืองหนึ่ง โดยเขาจะออกใบรับให้ แนวคิด business model คือจ้างขบวนการเปาเปียวคุ้มกันทองจากเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่งเพื่อให้ลูกค้าสามารถ redeem ได้ ถ้าเผื่อไม่ redeem  อาจเกิดวิวัฒนาการต่อมาคือตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทเปลี่ยนเงินได้ หาคนที่จะทำธุรกรรมด้วย บริษัทแลกเงินเริ่มเห็นภาพว่าลูกค้าอาจไม่ได้ถอนเงินทันที เริ่มเกิดความคิดในการทำธุรกิจด้วยเงินของลูกค้า  ขบวนการนี้ปัจจุบันคือบริษัทรับขนส่งเงิน

ปี 1661 เงินยุโรปเริ่มออกโดยธนาคาร Stockholms Banco ของสวีเดน จุดกำเนิดธนาคารเริ่มจากโต๊ะ เก้าอี้ยาว ผู้กู้กับผู้ให้กู้นั่งทำธุรกรรม พัฒนาการข่วงนี้มนุษย์ deal ด้วยทองคำ สืบเนื่องจาก โคลัมบัส ซึ่งตอนนั้นสเปนเป็นมหาอำนาจ โคลัมบัสค้นพบอเมริกา ราวปี 1480 หลังจากนั้นปี 1500 สเปนครอบครองอเมริกา ถล่มอาณาจักรอินคา เม็กซิโก ขึ้นมา ปี 1500 เป็นปีก้าวกระโดดของโลก เกิดตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนบัตรเพื่อระดมการลงทุน มีการออก joint stock ระบบหุ้นครั้งแรก


จากตั๋วสัญญาใช้เงินเริ่มมีการตั้งธนาคารชาติอังกฤษ ในปี 1964 เริ่มมีการออกเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายคือทุกคนต้องยอมรับ ธนบัตรคือสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย หมายความว่าผมเป็นหนี้เพื่อน 100 บาท ผ่านไป 1 ปี ใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยด้วยเงินบาท ผมต้องใช้ 110 บาท เพื่อนจะมาบอกว่าไม่เชี่อมั่นรัฐบาล ขอรับเป็นดอลลาร์ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะเงินบาทเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าคน 2 คนจะซื้อในรูป Bitcoin หรือ US Dollar ก็ได้ ถ้านำ Cryptocurrency หรือ OneCoin ซื้อบ้านที่เชียงใหม่ปลอดภัยไหม ก็ต้องพิจารณา กรณีนี้ต้องพิจารณาในเชิงลึกว่าเงินอนาคตอะไรที่มีค่าหรือไม่มีค่า และทำไมจึงมีค่า

  

ในประเทศไทย ย้อนไปยุคศตวรรษที่ 1-6 อาณาจักรฟูนัน ตอนใต้จีนไล่ลงมาทั้งหมดรวมอินโดจีน ยุค

แรกใช้เหรียญ

อาณาจักรสุโขทัย 800 กว่าปี ไทยใช้เงินพดด้วงเป็นเงินดินเผา หอยเบี้ยใช้ตั้งแต่สุโขทัยถึงรัชกาลที่ 3 ประมาณ 700 ปี


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากพระนางเจ้าวิคตอเรียถวายเครื่องพิมพ์เหรียญให้กับรัชกาลที่ 4 ไทยเริ่มปั๊มเหรียญเอง แต่เมื่อชำรุด ก็หยุด ส่วนการสั่งเครื่องใหม่ก็ต้นทุนสูง จึงเกิดแนวคิดออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หมายต่ำ หมายตำลึง แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 5 จากตั๋วสัญญาใช้เงินเริ่มมีโรงกษาปณ์ พิมพ์ธนบัตร รวมทั้งเหรียญกษาปณ์ พ่อค้ายุคนั้น (ยุโรป จีน) เชื่อมั่นธนาคารต่างประเทศมากกว่ารัฐบาลไทย รัฐบาลบอกว่า ถ้ามีเงินค้ำอยู่ 100%  คุณออกบัตรของคุณได้ บัตรนั้นในยุคปัจจุบันคือตั๋วเงินฝาก เปลี่ยนมือได้ มีเงินไทยค้ำ 100% ธนาคารฮ่องกงฯ ออกบัตรประเภทนี้  400 บาทในยุครัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมี 1) ธนบัตร โรงกษาปณ์ 2) ธนาคารต่างชาติพิมพ์บัตรธนาคารได้ (แบงก์โน้ต )


ย้อนไปที่รัชกาลที่ 3 พระองค์ชำนาญการค้าต่างประเทศ ค้าขายกับจีน ขากลับไทยเรือโคลงจึงต้องซื้ออับเฉา ใส่เรือกลับมา ถามว่าเงินที่รัชกาลที่ 3 ใช้ในการค้าขายกับจีนหรือจีนใช้จ่ายกับรัชกาลที่ 3 คืออะไร ปรากฎเป็นเงินเม็กซิโก (เงินตราอินทรีย์) เม็กซิโกในยุครัชกาลที่ 3 เป็นเมืองขึ้นสเปน การค้าระหว่างประเทศจีนเทรดกับไทยใช้เงินของเมืองขึ้น ดูแปลก มีคำอธิบายคือ เพราะเป็นเหรียญทอง รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเป็นคนออก เพราะคนยึดที่เนื้อทองคำ  มีทองคำที่เท่ากัน ออกเหรียญ+ค่ากำเหน็ด คนก็ถือเหรียญได้ แต่รัฐบาลยุคหนึ่งทำสงคราม ขาดทอง ใช้เนื้อทองเพียง 80% หรือ 70% โดยรัฐบาลประกาศว่าเป็นทองคำ 100% แต่เนื้อทองไม่เต็ม ดูจากภาพเหรียญเม็กซิโกคนเชื่อถือในวงการค้าโลก เพราะมีทองคำเป็นองค์ประกอบมากที่สุดในโลกในเวลานั้น

ขบวนการไทยถีบ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  ไทยเป็นอิสระไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร ส่วนหนึ่งจากการใช้เงินในสมัยรัชกาลที่ 3 สะสมไว้เป็นเงินไถ่ประเทศในยุค ร.ศ.112 (สมัยรัชกาลที่ 5) จนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการใช้ไทยเป็นฐานส่งเสบียง ไปมาเลเซีย พม่า การทำงานใช้แรงงานทาสคือเชลยศึก ญี่ปุ่นเสนอ 3 ข้อให้แก่รัฐบาลไทย 1) กำหนดให้เงิน 1 บาทเท่ากับ 1 เยน ค่าเงินบาทลดลงทันที 36% ไทยไม่มีทางเลือก 2) ทำการค้ากับญี่ปุ่นเท่านั้น 3) ยึดอำนาจการออกเงินของประเทศ หมายถึงไม่สามารถดำเนินนโยบายได้ ทำให้มีแนวคิดจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ญี่ปุ่นผลิตเงิน มีเงินเยอะในระบบจนเกิดเงินเฟ้อ เวลาญี่ปุ่นลำเลียงเงินไปตามเส้นทาง  มีการปล้นเงิน ถีบสินค้าและเงินลงมา ทำให้เงินกระจายไปสู่ชาวบ้าน เป็นที่มาของขบวนการไทยถีบ


การค้าระหว่างประเทศ แนวคิดหนึ่งคือ ลัทธิพาณิชย์นิยม หลังจากปี ค.ศ. 1500 สเปนค้นพบอเมริกาทำกำไรได้มหาศาล จักรวรรดินิยมอื่น ๆ พยายามจะมองอย่างเดียวกัน ชิงความเป็นมหาอำนาจ เพราะต้องการความมั่งคั่งของอาณาจักร ความมั่งคั่งขึ้นอยู่กับการมีทองคำและโลหะมีค่า การทำการค้าต้องให้ได้เปรียบดุลการค้า ส่งออกมากกว่านำเข้า ยุคลัทธิพาณิชย์นิยมก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เกิดความเชื่อว่าการขยายอาณานิคม ต้องการใช้ทรัพยากรของเมืองขึ้นในการผลิตสินค้า และส่งออกไปที่ประเทศเมืองขึ้นเพื่อขยายตลาด ไม่ได้สนใจอำนาจทางการเมืองแต่ต้องการ 1) วัตถุดิบ 2) ขยายสินค้า บริษัท Joint stock เริ่มเกิดขึ้นมา มีการแก้กฎหมาย ให้มีการจัดตั้งบริษัท Limitation of Liability ครั้งแรก หมายถึงลงหุ้นแล้วบริษัทเจ๊ง ขาดทุนมากกว่าเงินทุนที่บริษัทมี เจ๊งเท่าที่มี  จำกัดความรับผิดชอบ ทำให้เกิดบริษัทอีสต์อินเดียของสเปน อังกฤษ copy โมเดลของสเปน  บริหารโดยพ่อค้าก่อนถูกรัฐบาลยึด บริษัทเหล่านี้จ้างนักรบรับจ้างเพื่อยึดครองตลาด สนใจแค่ว่าจะดูแลคนในอาณานิคมอย่างไร


ในปี 1776 เกิดแนวความคิดโดยอาดัม สมิท (Adam Smith) เขามองภาพการแข่งขันนำไปสู่การที่ทุกคนสามารถที่จะดีขึ้นได้ ณ เวลานั้นเป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์ มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ "ถ้าพ่อค้าคอตตอนมีกำไร เขาก็จะเปิดร้านอีก เกิดการจ้างแรงงานอีก" เป็นการสื่อสารโลกพาณิขย์นิยม ว่าเป็นเรื่องที่ดี เกิดการจ้างงาน สร้างระบบเศรษฐกิจ สรุปได้ว่า Greed Is Good การโลภเป็นเรื่องดี การเป็นเศรษฐีเป็นเรื่องดี นำสู่แนวความคิดทุนนิยม และเกิดการเปลี่ยนแปลงกระแสหลัก


ในขณะนั้น David Ricado มองภาพว่าจริง ๆ ถึงเราจะทำสวนเก่งเมื่อเทียบกับคนสวน แต่ 1 ช.ม. ถ้าเราทำอย่างอื่นได้มากกว่าการตัดหญ้า ก็ควรจะเลือกทำในสิ่งที่ได้เงินมากกว่าและไปจ้างคนอื่นทำ  ประเทศไม่ควรใช้นโยบายเน้นการล่าอาณานิคม แต่ควรสนับสนุนการค้าเสรี ให้แต่ละประเทศผลิตของที่มีการได้เปรียบโดยการเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) แล้วเอามาค้าขายกัน แล้วจะ win win เขาใช้เวลาเปลี่ยนแนวความคิดนี้ 100 ปี คือ ปี 1871

ผ่านมาอีก 100 ปีเข้าสู่ยุค 1900 สิ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ไฟฟ้า พลังงาน ทฤษฎีสัมพันธภาพถูกตีพิมพ์ปี  1905 ช่วงเวลา 100 ปี ประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ไล่มาตั้ง 8,000 ปีที่แล้วจนกระทั่ง 1899 จนถึงปี 2000 การพัฒนาเร็วที่สุดในช่วง 100 ปีที่ผ่านมานี้เอง แนวความคิดที่มนุษย์ทำสิ่งที่ถนัดและนำมาแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางสังคม นำสู่การสู้รบใหญ่ 2 ครั้งในประวัติมนุษยชาติ สงครามครั้งสุดท้ายทำระเบิดปรมาณู นับจากปี 1905 โครงการแมนฮัตตันสำเร็จ เกิดระเบิดปรมาณูใช้เวลา 40 ปี จนถึงปัจจุบันทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3 คำถามต่อไปคือ ยุคอารยธรรมใหม่ของโลก AI Robot  จะเหลืองานอะไรให้เราทำ  โลกยุคนั้นเราอาจมีหน้าที่กดปุ่มมา และกดปุ่มกลับ

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวลาปิดวันหยุดยาวคือช่วงสงกรานต์ แต่ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา หยุดเล็กหยุดน้อยตอนนี้คนก็ไปต่างประเทศ แถมตอนนี้อยู่ office ใช้เวลาเช็ค facebook ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ช.ม.  โดยที่บริษัทมี productivity  แสดงว่าเรามีเวลาเหลือเฟือ ถ้ามีเวลาเหลือจริง แสดงว่าระบบการผลิตของโลกเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยที่เราต้องติดตาม

สิ่งที่เรียกว่าเงิน คืออะไร ทำไมถึงต้องยอมรับ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะยุโรปเสียหายเยอะ โดยเฉพาะฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ถึงไม่เป็นสมรภูมิแต่ก็เสียหายจากระเบิด ต้องใช้เงินจำนวนมากในการบูรณะประเทศ  อเมริกาชนะสงครามเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก กำหนดให้ เงินมีเสถียรภาพและการค้ามีความมั่นคง ถ้าคุณส่งของออกไปแล้วไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้รับเงิน จะ convert เงินได้เท่าไร  อเมริกากำหนดให้ทองคำและเงินดอลลาร์แลกเปลี่ยนกันได้เป็นค่าคงที่ โดยทองคำ 1 ออนซ์ = 20.67 ดอลลาร์ ฉะนั้นแต่ละประเทศที่ fixed เงินตัวเองกับดอลลาร์  นั่นหมายความว่าจะ fixed ด้วยการมีทองคำก็ได้ แต่การเก็บทองคำมีแต่ต้นทุนไม่มีดอกเบี้ย แต่ธนบัตรอเมริการะบุว่า 1 เหรียญแลกได้กี่ออนซ์ ถือธนบัตรรัฐบาลอเมริกาดีกว่า จนกระทั่งเข้าสู่สงครามเวียดนาม อเมริกาผลิตเงินมหาศาลในการทำสงคราม เงินมีค่ามากกว่าทองคำ 3 เท่า คนที่ถือธนบัตรอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ขอ convert ทอง ประธานาธิบดี Richard M. Nixon ประกาศเมื่อ 1971 วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่รับแลกทองคำ นำไปสู่การถล่มค่าเงินอเมริกา

ประธานาธิบดี Jimmy Carter ใช้วิธีการไม่ให้เก็งกำไรค่าเงินสหรัฐอเมริกา ด้วยการออก Carter Bonds วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันค่าเงินสหรัฐอเมริกา สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และบรรดาคู่ค้า ใครขายเงินยินดีซื้อทันที ลองเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนก่อนสงครามปี 1880 เงิน  1 ปอนด์ = 8 บาท ถัดมาอีก 40 ปี = 11 บาท แต่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนก่อน 1997 เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ fixed คือคงที่  จนสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่น ให้ไทย fixed กับค่าเงินเยน เกิดการพิมพ์เงิน หลังสงคราม ค่าเงินบาทกระโดดทันทีจาก 11 เป็น 40 บาท เป็นการช็อกครั้งใหญ่ เพิ่มขึ้น 4 เท่า

ไทยเริ่มเป็นสมาชิก IMF ทำให้แต่ละประเทศมีทุนสำรองพิเศษเรียกว่า สิทธิในการถอนเงินพิเศษ (special drawing account) เป็นเงินสกุล SDRs ซึ่งเป็นเงินที่เชื่อว่ามี แต่ไม่มีตัวตน เข้าสู่ระบบ basket ปี 1997 อัตราแลกเปลี่ยน 27 บาท แล้วกระโดดทันทีหลังยกเลิกการป้องกันค่าเงินเป็น 56 บาท คุณสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง บอกว่า เราต้องทำการค้าระหว่างประเทศเพื่อใช้หนี้ให้หมด คนถามว่า เราต้องส่งออกใช่ไหม เงินตราต่างประเทศแข็งขึ้น การทำธุรกิจข้ามขาติหมายถึงทำธุรกิจชาตินี้ ใช้หนี้หมดชาติหน้า เพราะไม่ใช่เรื่องการค้าอย่างเดียว แต่เป็นการยืมเงินสกุลต่างประเทศ หนี้ที่เป็นเงินบาท ปรับขึ้น 1 เท่าตัวทันที

ผมเคยฟังรายการวิทยุ มีผู้โทรถามผู้จัดรายการว่าค่าเงินบาท เงินดอลลาร์ เงินญี่ปุ่น เงินไหนแพงกว่าเงินไหน อาจารย์ตอบว่าเงิน 1 เหรียญเท่ากับ 31.59 บาท เงินเยนเท่ากับ 28 สตางค์ สรุปว่าเงินบาทแพงกว่าเงินเยน และเงินดอลลาร์แพงกว่าเงินบาท ความเป็นจริงเงินคือสิ่งสมมติทั้งสิ้น ไม่มีคำว่าเงินไหนแพงกว่าเงินไหน แล้วอะไรคือสิ่งที่ตัวเงิน

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร กล่าวว่า "เงินทองของมายา...ข้าวปลาสิของจริง"

อัตราแลกเปลี่ยนคือ สมมติว่าข้าว 1 ก.ก. ขายที่สหรัฐอเมริกา 1 เหรียญ ขายที่ไทย 32 บาท สิ่งที่เป็นสินค้าจริง ๆ คือ ข้าว อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินเหรียญควรอยู่ที่ 32 บาท เพราะถ้าอยู่ที่ 35 บาทแสดงว่าค่าเงินบาทอ่อนตัวมากเกินไปเมื่อเทียบกับอเมริกา สิ่งที่เกิดคือ สามารถซื้อข้าวที่อเมริกา 1 เหรียญ ขายที่ไทย 35 บาท เกิดกำไรทันที 3 บาท ด้วยวิธีการอย่างนี้ เมื่อมีความต้องการเงินเหรียญเพิ่มขึ้น เงินเหรียญจะสูงขึ้น มีการปรับตัวไปตามระบบ

แต่ก็มีคนบอกว่า ดร.อาณัติ พูดอย่างนี้ไม่ได้ นั่นอเมริกาข้าวสาลี นี่ไทยข้าวเจ้า ต้องหาของที่เหมือนกัน  ว่าแล้วหนังสือ Economist เล่มนี้ Bic Mac ที่อเมริกาขาย 5 เหรียญ  จีนขาย 20 หยวน อัตราแลกเปลี่ยน 1 ต่อ 4  แต่ตอนนี้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 เหรียญได้ 6.4 หยวน แสดงว่า ผมบอกว่าไม่มีเงินถูกเงินแพง แต่มีเงินที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น อย่างเช่นกรณีนี้ ประธานาธิบดี Donald Trump ไม่พอใจ ว่าจีนได้ดุลการค้าของอเมริกาเพราะจีนจงใจให้เงินของจีนต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้สินค้าจีนถูกกว่าในสายตาคนอเมริกัน จึงนำเข้ามา ทำให้เสียดุลการค้า

 

ผมเพิ่งกลับจากเซี่ยงไฮ้ เกิด Latte Index จีนมีสตาร์บัคส์เยอะมาก เซี่ยงไฮ้มีสตาร์บัคส์ใหญ่ที่สุดในโลก เราก็เข้าไปกินกันพ่อแม่ลูก 4 คน แก้วละประมาณ 500 บาท กินเสร็จเดินถนนถัดไปราคาใกล้กับเมืองไทย ทดลองเทียบเรทสตาร์บัคส์ลาเต้ มีราคาถูกกว่า แพงกว่า ราคาที่ควรเป็น เป็นวิธีการหาสินค้าเหมือนกัน เราใช้สินค้าเดียว ถ้าจะทำวิจัยเราจะใช้ตะกร้าสินค้าเป็นตะกร้าอะไร เป็นสินค้าที่ส่งออก นำเข้าได้ tradable goods เป็นทฤษฎีวิชาการเรียกว่า Purchasing Power Parity (PPP) เป็นทฤษฎีหนึ่งในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน  พบว่าค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง อนาคตจะปรับตัวขึ้นเกิดเก็งกำไร ดังนั้น PPP ไม่ใช่บอกว่าต้องปรับตัวขึ้นแต่อนาคตมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนก็มีหลายทฤษฎี มีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบมากมาย


เงินฮ่องกง มีแบงก์ชาติที่เรียกว่า Government currency board อารมณ์คล้ายแบงก์ชาติไทย แทนที่จะพิมพ์แบงก์เอง เขายังใช้เทคโนโลยีสมัยรัชกาลที่ 5 คือให้แบงก์ต่างชาติพิมพ์แบงก์แต่ต้องมีทุนสำรอง 100%


 

 แล้วเงินในระบบเศรษฐกิจของไทย การมีเสถียรภาพเป็นอย่างไร เราคงเห็นภาพปี 1997 เห็นภาพเวเนซุเอลา ย้อนไป 10 ปี เวเนซุเอลาเป็นเศรษฐีน้ำมัน ใช้นโยบายประชานิยมพิมพ์แบงก์ เงินที่เอาไปซื้อกาแฟ 1 แก้ว เมื่อ 10 ปีที่แล้วซื้อคอนโดได้ 1 ห้อง คือ เงินเฟ้อกี่เปอร์เซ็นต์ ปัญหาก็คือหน้าที่ของเงิน หน้าที่ของธนาคารกลาง คืออะไร จะพบว่าธนาคารกลาง จำเป็นต้องมีอิสระจากรัฐบาล เช่น ธปท. เป็นตัวอย่างที่ดี สมัย ดร.ป๋วย บอกว่าหน้าที่ของแบงก์ชาติถ้าเรามีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล เราก็ขอลาออก  ถ้ารัฐบาลจะทำจริงเขาก็จะแต่งตั้งผู้ว่าการใหม่ได้ แต่การลาออกของผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นการส่งสัญญาณต่อระบบเศรษฐกิจ  ถามว่าถ้าเป็นรัฐบาลที่ดีควรจะปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติหรือไม่  ถ้าเราสามารถทำให้แบงก์ชาติมีความมั่นคงน่าเชื่อถือ บริหารแบบมืออาชีพ ถามว่าจะขัดแย้งกับ รัฐบาลหรือไม่ มีโอกาสขัดแย้งสูง เพราะว่ารัฐบาลมองการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ขณะที่แบงก์ชาติมีเป้าที่เสถียรภาพ แต่ก็ต้องบอกว่าแบงก์ชาติก็สนใจการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เลือกระหว่างการเติบโตกับเสถียรภาพก็ต้องเลือกเสถียรภาพเพราะเป็นระยะยาวมากกว่า เมื่อไรที่เน้นเติบโตทำง่ายนิดเดียวคือพิมพ์เงิน แต่เติบโตไม่จริง

มีทฤษฎีการเงินอันหนึ่งบอกว่า MV = PQ    M คือปริมาณเงิน V อัตราความเร็วของเงิน สิ่งที่เราเรียกว่ารายได้ประชาชาติคือรายได้ของทุกคนในประเทศนี้  ตัวอย่าง ต้นปีพิมพ์เงิน 100 บาท ดร.อาณัติ ทำงานเป็นช้าราชการ มอบเงินให้ ดร.อาณัติเป็นเงินเดือน ผมกลับไปบ้าน มีคนรับใช้จ่ายเงินเดือน ๆ ละ 50 บาท เท่ากับว่ากำเงิน 100 บาท กลับบ้านจ่าย 50 ให้กับคนรับใช้ ณ ขณะนี้ถ้ามีเครื่องบันทึกบัญชีรายได้ประชาชาติ จะเริ่มบันทึกรายได้ประชาชาติเท่ากับ 100 บาทของผม และ 50 บาทของคนรับใช้ คนรับใช้เกิดอยากซื้อขนมครกอีก จ่าย 10 บาทค่าขนมครก รายได้ประชาชาติปรับทันที เพราะตอนนี้เกิดรายได้แหล่งใหม่ ดังนั้น จากเงิน 100 บาท ไม่ใช่เกิดรายได้ 100 บาท ถามว่าเกิดเท่าไรขึ้นอยู่กับความเร็วของธนบัตรที่เปลี่ยนมือ เรียกว่าความเร็วของเงิน ส่วนรายได้ประชาชาติ หน่วยเป็นบาท Q คือจำนวนตะกร้าสินค้าที่ผลิตขึ้น PQ คือ รายได้ประชาชาติที่เป็นบาท MV คือปริมาณเงิน V คือความเร็วของเงินที่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพฤติกรรม commitment  ในการจ่ายเงิน ซึ่งค่อนข้างคงที่ ถ้าเร่งการเติบโตของประเทศ การเจริญเติบโตคือ PQ อยากให้รายได้ประชาชาติเยอะ เงินสู่ประชาชนเยอะ ทุกคนมีรายได้ ฟังดูก็ดี แต่ V คงที่ ต้องทำอย่างไร ถ้าปั๊ม M  เข้าไปในระบบเยอะ ๆ เป็นสิ่งที่แบงก์ชาติควบคุมอำนาจผ่านการพิมพ์ธนบัตร PQ จะขึ้น  Q คือการผลิตของประเทศ ซึ่งมีขั้นตอนในการผลิต แต่พิมพ์เงิน 2 วันก็เสร็จ สิ่งที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สมการสมดุลก็คือ P ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับเวเนซุเอลา เมื่อ Q ไม่ขึ้นตาม แต่ P ขึ้นไปแล้ว ทำให้เงินเฟ้อกระโดด ดังนั้น การวัดความเติบโตทางเศรษฐกิจจึงควรวัดจาก Real GDP ผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริง คือ อัตราการเติบโตของ Q เพราะถ้าวัดรายได้เป็นเงินบาท จริงแล้วราคาสินค้าขึ้นแต่ได้รับของเท่าเดิม จึงไม่ใช่ การเติบโตต้องวัดจากมีของกินของใช้มากขึ้น วิธีการของการวัดรายได้ประชาชาติ คือ เอา P ไปหารเงินบาท หารเสร็จออกมาเป็น Q และวัดที่อัตราการเติบโต สิ่งนี้คือหน้าที่ของแบงก์ชาติ เสถียรภาพคือพิมพ์ M เพิ่ม Q ให้ได้ด้วย นี่คือนโยบายที่สอดประสานกันระหว่างการเงินการคลัง


15 นาทีสุดท้าย ปิดเรื่อง Cryptocurrency ได้ตามเวลา เกิดแนวความคิดขึ้นเมื่อปี 2008 จากเปเปอร์ที่เผยแพร่ทาง internet โดยคนที่ขื่อ Satoshi Nakamoto "Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System" พยายามสร้างระบบเงิน internet ในประเทศไทย internet แพร่หลายในปี 1998 เพราะเป็นปีที่ INET ให้บริการสาธารณะ คือพูดง่าย ๆ ประชาชนทั่วไปสามารถเช่าใช้ internet ได้ ปี 1998 เป็นต้นมา คนไทยใช้ net ทำ e-commerce ซื้อของทางเน็ต ซื้อหนังสือทาง amazon / trade หุ้น ผ่าน e-trade

ก่อนปี 1997 ผมจบปริญญาเอกมาใหม่ ๆ แบงก์ชาติบอกว่า ดร.อาณัติ ซื้อหุ้นลงทุนต่างประเทศไม่ได้ ต้องลงทุนทางตรง คือซื้อทั้งบริษัท ถามว่า แบงก์ชาติ control ผมได้ไหมถ้าผมจะซื้อหุ้น IBM ตอบว่าได้ เพราะคุณจะเอา US Dollars ไปซื้อ จะเอา US Dollars จากไหนมาซื้อ ต้องไปขออนุญาต ทำธุรกรรมที่แบงก์ชาติอนุญาต แบงก์ถามผมว่าคุณเอาเงินไปทำอะไร ผมตอบว่าซื้อหุ้น IBM แบงก์ชาติไม่อนุญาต ให้ลงทุนทางอ้อม เขาไม่ขายเงินผม ผมก็ซื้อไม่ได้ แต่พอผมมี net มี Wetsite e-trade ผมก็เปิด account ผมก็สั่งซื้อหุ้น IBM สิ้นเดือนเอา US Dollars ที่ไหนไปจ่าย ผมก็ใช้บัตรเครดิต มีวงเงินจำนวนหนึ่ง รวมกันหลายคนมีหลายบาท สิ้นเดือนก็เก็บเงินเราเป็นเงินบาท ถามว่าต้องไปขออนุญาตแบงก์ชาติไหม ในที่สุดไม่สามารถห้ามได้  แบงก์ชาติยกเลิกการลงทุนต่างประเทศวิธีนี้ ตอนนี้ถูกกฎหมาย แต่ก่อนหน้าผิดกฎหมาย ผลคือ ปี 2008 ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

Satoshi เสนอ 2 นวัตกรรม 1) อย่างไรต้องมีคนคอยตรวจสอบว่าใครมีเงินจ่ายหรือไม่ แต่ถ้าเราไม่ต้องการคนกลาง เพราะหากคนกลางเบี้ยวทุกอย่างก็ล่ม พวกเราก็ช่วยกันจด คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวกับธุรกรรมนี้ ช่วยกันจด วิธีการจดคือ คอมพิวเตอร์ทั่วไปเป็นดาต้าเบส Bitcoin เป็น Cryptocurrency สกุลแรกถูกสร้างฐานข้อมูลเรียกว่า Blockchain ขึ้นมา มีแนวความคิดว่า เมื่อมีธุรกรรมใหม่เข้าสู่ระบบ คำว่าระบบคือเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ ซึ่งใน Blockchain มีเป็นล้าน ๆ เครื่อง เช่น ดร.อาณัติ จะโอนเงิน 2 Bitcoin ให้คุณ B ขั้นตอนคือนำ transaction ไปวางในเครือข่าย และบอกว่านี่คือข้อมูลที่ยังไม่ตรวจสอบ เสร็จแล้วเครื่องที่เหลือในเครือข่ายทั้งหมด จะแย่งกันตรวจสอบว่า ดร.อาณัติ มีเงินจริงหรือเปล่า แต่พร้อมกับการแย่งการตรวจสอบจะมีคนยกมือขึ้นมาว่า ได้ตรวจสอบพบแล้วว่า ดร.อาณัติ มีเงินหรือไม่มี เครื่องที่เหลือทั้งหมดต้องหยุดเพื่อรอให้ผู้ตรวจสอบพบแจ้งว่าถูกต้องหรือเปล่า นี่คือกลไกกติกา กรณีมี hacker ในระบบ และมีเครื่องเยอะ ๆ ยกมือว่าตรวจสอบพบ แต่ไม่จริงระบบ Blockchain แบบ Bitcoin จึงได้สร้าง Algorithm เพื่อชะลอความเร็วในการยกมือ กำหนดให้ต้องไปแก้สมการนี้ขึ้นมาก่อน แล้วก็ใส่สมการขึ้นมาในระบบ ถ้าความเร็วเครือข่ายของ Blockchain มีมาก โจทย์จะยากขึ้น ถ้าความเร็วลดลง จะลดความยาก แต่โดยสถิติ จะมีอย่างน้อย 1 เครื่องในระบบที่แก้สมการนี้ได้ สมการนี้ไม่สามารถแก้ด้วย Algorithm ทางคณิตศาตร์ได้ ต้องเกิดจากการลองผิดลองถูกอย่างเดียว ฉะนั้น คนที่เข้ามาอยู่ในเครือข่าย ช่วยกันตรวจสอบ เหมือนกับซื้อหวย ไม่ต่างกัน ฉะนั้น ท่านอาจเคยได้ยินว่าไปขุด Bitcoin ความหมายก็คือเอาเครื่องเข้าไปจ่อในระบบ ช่วยตรวจสอบธุรกรรม


ประเด็นถัดมาแล้วเสียค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องเพื่ออะไร Satoshi  ใช้วิธีการอันชาญฉลาดอย่างหนึ่งคือ เอากำเนิดของ Bitcoin เข้าไปผูกกับกระบวนการตรวจสอบ อย่างที่บอกว่า Bitcoin ถูก fixed ว่าภายใน 10 นาทีจะมีอย่างน้อย 1 เครื่องที่ตรวจพบ ดังนั้นเงินเหรียญเกิดใหม่ก็จะเป็นของคนแรกที่ตรวจพบ เริ่มต้นที่ 50 Bitcoin ต่อ 10 นาที หลังจากนั้น เวลาที่ผ่านไปประมาณ 2 แสน block จะลดลงครึ่งหนึ่ง ทุกครั้งที่ลด เงินจะขึ้น เหมือน  supply น้อยลง ตอนนี้อยู่เฟส 3 ประมาณ 12.5 Bitcoin และกำลังจะลดลง เขาถึงประมาณได้ว่าทั้งโลกจะมี Bitcoin ประมาณ 21 ล้าน Bitcoin เพราะจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งน้อยมาก ๆ แล้วถามว่าอายุประมาณเท่าไร ก็ประมาณอีกร้อยกว่าปี เพราะฉะนั้น Bitcoin ที่ถือไว้ก็ไม่มีคนตรวจสอบ เพราะไม่มีเหรียญเกิดใหม่ เขาบอกว่าไม่ ถ้าถึงตอนนั้น ไม่ต้องใช้เงินเกิดใหม่ในการเลือก แต่คนที่ทำธุรกรรม และต้องการให้ดึงขึ้นมาตรวจสอบ อาจจะจ่ายค่าทิปเข้าไป หรือ transaction fee จะเป็นตัวหล่อเลี้ยงเงินสกุลนี้ต่อไป

มาดูรูปแบบลักษณะฐานข้อมูลแบบ Blockchain 1) กระจาย ไม่อยู่ในเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ไม่มี server client ทุกคนมีสถานะเท่ากันหมด คือเป็นเครื่องเพื่อน ด้วยวิธีการแบบนี้ ถ้าผมพอแล้ว ขุดกี่ปีไม่ได้สักที ผมเลิกแล้ว ก็ออกไป คนที่เหลืออยากเริ่มวันแรกก็ copy ข้อมูลได้เลย ข้อดีที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงคือ ตอนนี้มีการออกแบบฐานข้อมูลที่ hack ไม่ได้ ซึ่งในอดีตจนถึงก่อนยุคนี้ไม่เคยมีใครสนใจเรื่องนี้ หรือคิดว่าจะทำได้มาก่อน เราฝากการ hack ไม่ได้ทุกอย่างไว้ที่ Firewall แต่บนความเชื่อที่ว่าคอมพิวเตอร์ทุกอย่างในโลก ถูกเจาะได้ทั้งนั้นถ้ามีแรงจูงใจมากพอ แต่ถ้าคุณเจาะแล้วเปลี่ยนข้อมูล เครื่อง ๆ หนึ่ง ก็ไม่ได้เพราะข้อมูลถูกยืนยันจากเครื่องที่เหลือทั้งหมด hack แล้วยังไง ทุก 10 นาที มันจะเปลี่ยนตลอด สู้ไปขุดดีกว่า คำถามต่อไปคือคุ้มหรือไม่ Bitcoin รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ ไม่ต้องเซ็นสัญญาเพียงดาวน์โหลดโปรแกรมใส่ code แล้วอยู่ร่วมในสหกรณ์  คนใดคนหนึ่งในสหกรณ์ขุดได้ เราก็จะได้ส่วนแบ่งด้วย ในหนังสือจะวิเคราะห์ บอกวิธีคำนวณ การจะมองว่าคุ้มหรือไม่ ต้องงวิเคราะห์ต่อ เช่น ตอนนี้มีเครื่องในระบบมากขึ้น ส่วนแบ่งจะน้อยลง กลุ่ม Cryptocurrency แบบ Bitcoin เป็นตัวแรกที่ออกมา ภาพคือเอา source code ไปใส่เครื่องต่าง ๆ เปิดเผย source code ทั้งหมด เพื่อยืนยันว่าไม่ได้ปล่อยไวรัส Bitcoin สามารถ เนื่องจาก เป็น Open Source ตัวอย่างผมอยากทำเครือข่ายใหม่ ผมจะสร้างอาณัติคอยน์  ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ ไป copy code ของ Satoshi มา แล้วบอกว่า 10 นาทีมันช้าเกินไป 3 นาที ก็ได้  แต่ต้องเข้าใจว่ายิ่งเร็วความมั่นคงยิ่งลดลง ความมั่นคงขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ 1) ความเร็วในการที่ให้คนยกมือ 2) จำนวนเครื่องในเครือข่ายของคุณ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเงินสกุล Cryptocurrency ที่มี blockchain ของตัวเองที่ออกตามมาเช่น Litecoin /  Ether ผมถือว่าเป็น Native Blockchain สร้างเครือข่ายขึ้นมาเอง Bitcoin เกิดปี 2009


Ethereum เกิดปี 2014 มี Native Blockchain ของตัวเอง ใช้ Algorithm ในการสมการ ร่นเวลาเหลือ 15 วินาที คนคิด Ethereum  Vitalik Buterin เป็นคนแคนาดา เชื้อสายรัสเซีย เป็นเด็กอายุ 20 กว่า ปัจจุบันเป็นมหาเศรษฐีแล้ว Vitalik Buterin  เขียน script ขึ้นมาและบอกให้เครื่องพวกนี้สามารถ run script ได้ด้วย คือใช้เครื่องชาวบ้าน ตัวเองไม่ได้ลงทุนสักบาท แค่ run script และเก็บเงินค่าแก๊ส  คนขุด Ether ได้ จะได้ 2 ส่วน 1) ได้ Ether เกิดใหม่ 2) ค่าแก๊สที่เกิดจากการ run ระบบ สงสัยว่าแล้วใครจะ run script ในระบบ เมื่อครู่ผมบอกว่าจะสร้างอาณัติคอยน์ ความยากคือต้องหา convince คนอีก แต่ผมสามารถสร้างอาณัติคอยน์ ทันทีโดยการสร้างบน script Ethereum ซึ่งหลาย ๆ ท่าน อาจจะรู้จัก JFIN Coin ซึ่งถูกสร้างบน Ethereum การสร้างบน script หมายความว่าผมสามารถสร้างได้ตามใจชอบ สามารถใส่เงื่อนไขเองได้ ไม่เหมือน Native Blockchain ที่จะเกิดขึ้นทุก 15 วินาทีสำหรับ Ether 10 นาทีสำหรับ Bitcoin  แต่พอเป็น script สามารถสร้างอะไรก็ได้ ในหนังสือจะพูดถึงการสร้าง Profin Coin ซึ่งถูกสร้างด้วย Protocol ที่เหมือนกับ stable coin มากกว่า ถูก fixed กับเงินบาทไว้ ฉะนั้น พูดง่าย ๆ ก็คือผมจะสร้าง script ที่มี Smart Contract เหมือนโปรแกรมอยู่ใน block ของ Ethereum  เสร็จแล้วก็เขียนโปรแกรมคุยกับคัสโตเดียนของผมที่เป็นแบงก์ เมื่อมีคนอยากทำธุรกรรมด้วย Cryptocurrency อ้างอิงกับเงินบาท ก็ฝากเงินที่คัสโตเดียน ๆ ใช้โปรแกรม ไม่เกี่ยวข้องกับคน ถ้ามีคนต้อง audit เกิดคอรัปชั่นเยอะ ทั้งผมและเขาใช้ script ส่งเข้ามา มีเลขบัญชี refer ต้องเปิดบัญชีกับผมก่อน ถึงนำเงินมาฝาก 200 บาท ในระบบก็จะสร้างเงิน 200 เหรียญขึ้นมา เท่าๆ  กันทันที ถ้าเผื่อคน ๆ นี้จะถอนเงิน เขาก็มาที่ระบบของผม และถอนไปเข้าบัญชีที่นี่ เงินในคัสโตเดียน ถูกโอนเข้าบัญชีสู่ระบบธนาคาร ส่วน 200 เหรียญที่อยู่ในระบบ ที่เป็น Cryptocurrency ถูกเผาทิ้ง ในวงการ Cryptocurrency หมายความว่าจะโอนเงินไปที่ ๆ ไม่มีใครรู้ password ถูกเบิร์นหายไปในระบบ เพราะฉะนั้นจะถูก fixed ที่ 1 ต่อ 1 ตลอดเวลา ถามว่าแล้วเราสร้าง ProfinCoin ขึ้นมาเพื่ออะไร อนาคตของเงินยุคใหม่ ท่านเห็นภาพแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง

ตอนนี้อยากให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อย 2 อย่าง คือ  Cryptocurrency ทำไมต้องเกิด ไม่ใช่มาเพื่อเก็งกำไร ไม่สนับสนุนการเก็งกำไร แต่จำเป็นต้องเกิด เหตุผลแรกคือ การทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน ธนาคารของเราอยู่ในระบบ swift แต่ swift เป็นการส่งคำสั่ง หมายความว่าถ้าคุณจะโอนเงินจริง ๆ เช่น คุณไปที่ธนาคารกรุงเทพเพื่อโอนเงินให้เพื่อนที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารกรุงเทพรวมทั้งธนาคารใหญ่ในโลก เขาตกลงกันว่า เขาต้องเชื่อธนาคารหนึ่ง เป็นธนาคารกลางก่อน เช่น ทุกคนเลือก Chase Bank ที่นิวยอร์ค นั่นหมายถึง ทุกคนต้องนำเงินไปกองที่ Chase Bank นิวยอร์ค พอ swift ส่งคำสั่งมาว่า บัญชีธนาคารกรุงเทพจะโอนเงินไปที่บัญชีนี้ ธนาคารกรุงเทพต้องมีเงินอยู่แล้วที่ Chase Bank นิวยอร์ค แล้วโอนไปอีกที่บัญชีหนึ่งของอีกธนาคารหนึ่งซึ่งใช้ Chase Bank เหมือนกัน นึกภาพออกไหมว่าต้องมีเงินจริง ๆ ทำไมธนาคารถึงต้องใช้ต้นทุนสูง โหด เก็บค่าเงินแพง เงินพวกนี้เขาก็นำมาจากเงินฝากของท่าน มาจ่ายดอกเบี้ยท่าน แล้วนำเงินไปกองเฉย ๆ เพื่อทำธุรกรรมโอนเงิน จ่ายค่าธรรมเนียม swift ทุกอย่างแพงหมด ลองคิดใหม่ ทำใหม่ ถ้ามีลูกเรียนต่างประเทศ แต่ก่อนต้องไปขออนุญาตแบงก์ชาติ  เพื่อไปซื้อเงินที่แบงก์ได้ ต่อนี้ไปไม่ต้องแล้ว ลูกไปอเมริกา มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เปิดบัญชี Coinbase ไว้ เป็นบัญชีเหมือนกับดีลเลอร์ที่ซื้อขาย Bitcoin ได้ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน เปิดบัญชีเสร็จ ได้เลขบัญชีแล้วมาบอกพ่อ พ่ออยู่เมืองไทย พ่อเข้า bx ที่ได้ไลเซ่นจาก ก.ล.ต. เมื่อเปิดบัญชีได้เลขบัญชี รู้บัญชีของลูก ซึ่งป็นเลขสากล ที่ไม่ซ้ำกันเลย เมื่อได้บัญชีแล้วก็ง่าย นำเงินบาทซื้อ Bitcoin ไม่ต้องเก็งกำไร ซื้อปุ๊บก็ convert บอก bx ว่าโอนเงินที่บัญชีนี้ แต่ถ้าโอนผิดบัญชีไม่รับผิดชอบ เพราะไปแล้วไปเลย ฉะนั้น ไม่มีใครเป็นตัวกลางในระบบ Bitcoin นั่นคือโอนไปให้ลูก ลูกอยู่ที่นั่นแล้ว นับเวลาโอนเป็นหน่วยนาที ไม่ใช่นับกันเป็นวัน เร็วสุดคือ 10 นาที ที่ transaction ของ Blockchain confirm ธุรกรรม  ให้ลูกแปลงเป็น US Dollars เลย จบขั้นตอน ธปท. ก็จะควบคุมไม่ได้ นี่คือการเปลี่ยนแปลง ธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนแปลงไป

การเปลี่ยนแปลงที่ 2 ก็คือ เงินในอนาคตจะเป็น programmable money หมายความว่า script ที่อยู่บน Ethereum สามารถเขียนคำสั่งได้ นึกภาพดู ผมทำธุรกรรม e-commerce แบบ c 2 c ถ้าอยากขายของโพสต์ไป 2 คนไม่รู้จักกัน ต่างไม่เชื่อใจกัน ไม่เป็นไร เรามีบริการกลางขึ้นมา มี script สำเร็จรูป แค่ flll in information เสนอบริการกลางคือ script ที่เขียน template ไว้ คล้าย ๆ หุ่นยนต์  สมมติคนหนึ่งโฆษณาขายกระเป๋า 60 บาท 2 คนนี้ไม่เชื่อใจกัน แต่จะ run script ตัวนี้ โดยใช้ template บริการกลาง ผู้ขายเอาเงิน 120 มาวางอยู่ใน account นี้ account นี้ไม่ใช่คนกลาง เรียกบริการกลาง จะ Generate account อัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ ที่แม้แต่ผู้ให้บริการก็ไม่รู้ password มีเฉพาะหุ่นยนต์ที่รู้ ผู้ซื้อโอนเงิน 120 เพื่อซื้อของ 60 บาท มาเก็บที่หุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะปล่อยเงินบนเงื่อนไข 2 อย่างที่ถูกโปรแกรมล่วงหน้า คือ 1) คนซื้อกด ok หลังจากที่ผู้ซื้อโอนเงินเข้ามา 120 และบอกคนขายว่าโอนเงินแล้ว ส่งของได้ ลูกค้าพอใจ สิ่งที่เกิดคือ 120 คืนผู้ขาย + 60 ค่ากระเป๋า เสร็จแล้วคืน 60 ให้ผู้ซื้อ ฉะนั้น ผู้ซื้อไม่มีแรงจูงใจที่โกง ถ้าไม่พอใจ ก็ส่งของคืนกลับมาบวกค่าส่งตามเงื่อนไข เงื่อนไขที่ 2) ผู้ขายกด ok ฐานะคนขายรับสินค้ากลับมา ลูกค้าไม่พึงพอใจ กด ok กับหุ่นยนต์ คืน 120 ให้ผู้ขาย คืน 120 ให้ผู้ซื้อ ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจที่จะเบี้ยว นี่คือตัวอย่างเล็ก ๆ อันหนึ่งที่ให้เห็น programmable money การค้าระหว่างประเทศต้องอำนวยความสะดวกแต่ก็ไม่เชื่อใจกัน ถ้ามีเงินสามารถโปรแกรมได้ นี่เป็นตัวอย่าง หรือ Easy Pay ถ้าเผื่อ IOT (Internet of Things) ผูกกับกระเป๋าเงิน ผมจ่ายเงินใช้บัตรทางด่วน ผมไม่ได้ต้องมาดีลอะไรกัน เพราะเงินพวกนี้ถูกยอมรับอยู่แล้วสามารถจ่าย เกิดระบบทันที ที่ผมบอกเรื่องของ Bitcoin กับ Coinbase ว่าไม่ต้องตกลงกัน เหตุผลเพราะว่าทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถที่จะซื้อขาย Bitcoin ได้ในประเทศตัวเองอยู่แล้ว ธพ.แห่งหนึ่งใช้ Ripple มาทดลองให้บริการ Ripple   เป็น Cryptocurrency อีกรูปแบบหนึ่ง แต่อยู่บนหลักการคล้าย ๆ Bitcoin เริ่มโอนเงินไปญี่ปุ่น จากเดิมใช้เวลาเป็นวัน ตอนนี้นับเวลาเป็นนาที นี่เป็นตัวอย่าง ทำไมต้นทุนถูกลงเพราะไม่ต้องเปิดบัญชีกลาง ไม่ต้องเอาเงินไปทิ้งไว้ โอน Ripple ไป แล้วเอา Ripple ขายเป็นเยน ผมคิดว่า 2 อย่างนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ถ้าไทยไม่ปรับตัวจะเกิดอะไรขึ้น

ปี 2542 หลังเกิดวิกฤตในประเทศไทย มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่มีเงินใช้ คนในหมู่บ้านมีสินค้า แต่จะ Barterแบบ 8,000 ปีก่อน ก็กระไรอยู่ เขาไม่มีเงิน เขาจึงพิมพ์เงินขึ้นเอง ที่อำเภอกุดชุม จ. ยโสธร ผลลัพธ์คือถูกจับ บอกว่าเขาไม่มีอำนาจพิมพ์เงิน

แต่ Bitcoin ไม่ใช่ ผมยินดีที่จะทำ Transaction บน Bitcoin อำนาจกร่อนลง จับไม่ได้ ยกเลิกไม่ได้ จะจับ Satoshi ก็ไม่รู้ว่าคือใคร

การบรรยายจบลงด้วยข้อสรุปเพียงเท่านี้ หวังว่าจะพอเป็นไอเดียได้

+++++++++++++++++++++++++++++


ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้