กิจกรรม

บันทึก Book Talk : eBook Future of Living - อนาคตของการใช้ชีวิต

วันที่จัดงาน
7 ก.พ. 2022
สถานที่จัดงาน
YouTube “ศูนย์การเรียนรู้แบงก์ชาติ – BOTLC”

บันทึก Book Talk : eBook Future of Living - อนาคตของการใช้ชีวิต

สรุปกิจกรรม Book Talk โดย กฤษภาส กาญจนเมฆานันต์

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12.15 – 13.15 น.

เผยแพร่ผ่าน YouTube "ศูนย์การเรียนรู้แบงก์ชาติ – BOTLC" (รูปแบบ Premieres)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


โครงการวิจัย Futures and Beyond Navigating Thailand Toward 2030 เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ และ ศูนย์วิจัยฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ประกอบด้วยงานวิจัย 6 เล่ม และจะมาเล่าถึง Future of Living -  อนาคตของการใช้ชีวิตในประเทศไทย

การคาดการณ์อนาคต (Foresight) กระบวนทางความคิดประกอบด้วย critical thinking, creativity และ imagination การมองอนาคตจะมองหรือคาดการณ์อนาคตในระยะ 10, 20 หรือ 30 ปี งานวิจัยนี้มองอนาคตไป 10 ปี อนาคตมีหลายรูปแบบ การมองถึงความเป็นไปของอนาคตหลายรูปแบบ ทำให้เตรียมการคาดการณ์อนาคต ถอดกลยุทธ์ อยากได้อนาคตแบบไหนต้องเตรียมการ และเตรียมคนอย่างไร เพื่อไปสู่อนาคตตามแบบที่ต้องการ



Future of Living มองอนาคตความเป็นอยู่ วิถีชีวิต 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่อยู่อาศัย ความต้องการของมนุษย์ใช้ชีวิตในบ้านประมาณ 11.4 ชั่วโมง กิจกรรมมากกว่า 50% ทำในบ้าน เช่น การทำงาน เรียนหนังสือ มีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ คือ การอุบัติของโรค COVID-19 ทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ทำในบ้าน และมีข้อกำหนดให้ไม่สามารถทำกิจกรรมนอกบ้านได้ การซื้อ smart device ที่มากขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพ รายได้ต่อครัวเรือนประมาณ 280,000 บาท / คน /ปี ไม่ตอบโจทย์ความต้องการด้านเทคโนโลยี และที่อยู่อาศัย ประชาชน 43% จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี เพราะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ประชาชนมีอายุยืนมากขึ้น 24 ปี และก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างแท้จริง การออกแบบสาธารณูปโภค สินค้าและบริการต้องคำนึงถึงผู้สูงอายุ ความสามารถการซื้อที่อยู่อาศัยลดน้อยลงเนื่องจากราคาที่ดินเฉลี่ยสูงขึ้น 8% ต่อปี ก่อให้เกิดปัญหาการซื้อที่อยู่เป็นของตนเองยากขึ้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยจาก COVID-19 เป็นตัวเร่งสำคัญทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป



สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับการใช้ชีวิต คือ

  1. Smart Homes and 3D-Printed Houses บ้านอัจฉริยะที่มี smart device เช่น อุปกรณ์ 5G เช่น การเปิด - ปิดไฟ เครื่องซักผ้า แอร์ ทุกอย่างควบคุมโดยอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกัน ในอนาคต smart device เป็นสิ่งจำเป็นสะดวกต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะสังคมไทยที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. Robotics in Healthcare หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพในโรงพยาบาล จากวิกฤต COVID-19 การใช้ robot ช่วยป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค การปรึกษาแพทย์ทาง telemedicine ผ่านบริการสาธารณสุข

Smart device ทำให้ชีวิตของคนง่ายขึ้น มี big data ใช้ประมวลผล การออกแบบเป็นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น แต่เหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหา "ความเป็นส่วนตัว" การใช้สินค้าและบริการ online ข้อมูลส่วนตัวจะถูกเก็บโดยบริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของสินค้าและบริการ หากข้อมูลเหล่านี้ถูกผู้ไม่หวังดีนำไปใช้อาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้



สัญญาณการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีตอบโจทย์ได้ เช่น ที่อยู่อาศัยคนแต่ละรุ่นมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป เช่น คนรุ่นใหม่อยากใช้สินค้าและบริการที่แบ่งปันกันเพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตโดยไม่มีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นการเช่าเฉพาะที่ต้องการใช้ ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน จากวิกฤต COVID-19 การดำเนินชีวิตทำให้เกิดสินค้าที่ใช้แล้วทิ้งจำนวนมาก ข้อดีคือไม่เกิดการติดเชื้อเพิ่ม แต่ข้อเสียคือเกิดขยะพลาสติก ก่อให้เกิดปัญหามลพิษมากขึ้นในอนาคต การใช้ชีวิตในปัจจุบันต้องเตรียมพร้อมต่อความไม่แน่นอนมากขึ้น เช่น การทำประกันเตรียมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้น การวางแผนอนาคตในหลายมิติมากขึ้น การใช้ชีวิตมีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น

 

การเข้าถึงสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การใช้ชีวิตในโลกดิจิทัล พฤติกรรมจาก offline เป็น online ทำให้ต้องปรับตัวและเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น บริการขนส่งมวลชน บริการสุขภาพ จากสถานการณ์ต่าง ๆ ภาระของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ทำให้ไม่มีกำลังจ่ายเพียงพอที่จะเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ อีกหนึ่งปัจจัยคือ ความไม่แน่นอนหรือไม่ปลอดภัย เช่น การที่ต้องอยู่กับ COVID-19 ความต้องการวัคซีน การบริการด้านสาธารณสุขมีราคาสูงมาก การบริการภาครัฐไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงบริการ ปัจจัยสุดท้ายคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงผู้บริโภคทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มที่มีความต้องการแบบพิเศษ กลุ่มผู้สูงวัย วัยเด็ก หรือวัยทำงาน



การเตรียมความพร้อมการสำหรับอนาคต ประกอบด้วย

  1. Inequality as a friend การอยู่กับความไม่เท่าเทียม ไม่เท่าถึง ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าขายเฉพาะกลุ่มที่มีความสามารถในการซื้อ ผู้มีรายได้น้อยไม่ได้การบริการที่ดี ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
  2. Only for the privileged ผู้ที่มีรายได้หรือความสามารถในการซื้อสูงจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต บริษัทผลิตสินค้าจะออกแบบสินค้าที่ตอบโจทย์สำหรับกลุ่มนี้ ทำให้รายได้กระจุกตัวที่เมืองขนาดใหญ่
  3. Low-Cost lifestyle การเจริญเติบโตของประชากรที่มากขึ้น ทำให้สินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ mass มีราคาถูกลงและมีเพียงพอต่อความต้องการต่อประชากรทุกกลุ่ม
  4. This is comfy! การเข้าถึงทรัพยากร สินค้าและบริการไม่ว่าจะเป็นผู้มีรายได้มากหรือน้อย เพราะรัฐบาลจะเป็นผู้จัดหาทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

การเตรียมพร้อมเป็นสิ่งสำคัญมาก การออกแบบนโยบายที่ครอบคลุมช่วยให้ตอบโจทย์ประชาชนทุกลุ่ม ที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร ให้สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์อนาคตของประเทศตาม


ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้