แนะนำ

การเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion)

เผยแพร่3 พ.ค. 2018

ในรายงานการวิจัยที่เสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ปี 2558 ได้นิยามไว้ว่า “การเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion) หมายถึง การที่บุคคลหรือครัวเรือนมีโอกาสการเข้าถึงและสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืน ด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม โปร่งใส และสอดคล้องกับระดับรายได้ ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม” -- (เอม เจริญทองตระกูล และคณะ, 2558, น. ง)

องค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของการเข้าถึงบริการทางการเงินไว้ในทิศทางเดียวกัน ดังแสดงด้านล่าง

 “Financial inclusion means that individuals and businesses have access to useful and affordable financial products and services that meet their needs – transactions, payments, savings, credit and insurance – delivered in a responsible and sustainable way.” -- World Bank (World Bank, 2017)

 “Financial inclusion means that individuals and enterprises can access and use a range of appropriate and responsibly provided financial services offered in a well-regulated environment. There is a growing evidence that increased levels of financial inclusion – through the extension of savings, credit, insurance, and payment services – contributes significantly to sustainable economic growth.” -- UNCDF (UNCDF, 2016)

 “Financial inclusion refers to the process of promoting affordable, timely and adequate access to a range of regulated financial products and services and broadening their use by all segments of society through the implementation of tailored existing and innovative approaches including financial awareness and education with a view to promote financial wellbeing as well as economic and social inclusion.” -- OECD (Russia Financial Literacy and Education Trust Fund, 2013, p.69)

“Financial Inclusion is the process of ensuring access to financial services and timely and adequate credit where needed by vulnerable groups such as the weaker sections and low income groups at an affordable cost from Mainstream financial institutions.” -- Reserve Bank of India (Joshi, 2013)

ในประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง โดยได้กำหนดเป็นนโยบายและแนวทางการพัฒนาผ่านแผนการดำเนินงานต่าง ๆ โดยแผนการดำเนินงานที่สำคัญทั้งที่ดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
รัฐบาลได้กำหนดให้การปรับปรุงภาคการเงินของไทยเป็นจุดเน้นและประเด็นพัฒนาหลักประการหนึ่ง โดยในส่วนของการเข้าถึงบริการทางการเงิน ได้ระบุถึงการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้อย่างเข้มข้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน เพื่อให้ภาคธุรกิจและประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการทางด้านการเงินได้อย่างทั่วถึงในต้นทุนที่เหมาะสม รวมถึงการพัฒนาองค์กรการเงินฐานราก

แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 – 2551) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553 – 2557)
กระทรวงการคลังและ ธปท. ได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยแผนฯ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2547 – 2551) มีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างและจัดรูปแบบระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่ง และสามารถให้บริการได้ทั่วถึง โดยมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น ส่งเสริมองค์กรการเงินชุมชนผ่านแผนแม่บทการเงินฐานราก ศึกษาการจัดตั้งธนาคารชุมชนกลาง (APEX Institution) ส่งเสริมสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาชนบท ให้ใบอนุญาตธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) ส่งเสริมแนวทางให้บริการ Micro Finance สาหรับธนาคารพาณิชย์

ต่อมา ทั้ง 2 หน่วยงานได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553 – 2557) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการแข่งขันในระบบสถาบันการเงิน การเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ซึ่งมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น ออกแนวนโยบายสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ของธนาคารพาณิชย์ ตั้งศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 (2559-2563)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 3 โดยได้กำหนดให้การเข้าถึงบริการทางการเงินเป็นกรอบนโยบายหลัก 1 ใน 4 ด้านของแผนฯ ซึ่งแนวทางการดำเนินงาน คือ ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรวมถึงการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น การให้บริการผ่านตัวแทน และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพองค์กรการเงินชุมชน

ร่างแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ให้ความเห็นชอบร่างแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางระบบการเงินภาคประชาชนที่ชัดเจน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนากองทุนการเงินระดับฐานราก ทั้งกองทุนหมู่บ้าน กองทุนการออม กองทุนสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารหมู่บ้าน และสหกรณ์ออมทรัพย์ ให้เป็นสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง และเพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นการสานต่อการดำเนินการตามแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการในช่วงปี 2551-2554 

ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 อนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินประชาชนเพื่อรับรองสถานะองค์กรการเงินระดับชุมชนให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล และบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการเงินให้แก่ชุมชนฐานรากเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง

Web Resources

Recommended


กฤตกร จินดาวัฒน์. (2560). แผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ.2560-2564.  บทความวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2560/hi2560-003.pdf

กฤษฎา อุทยานิน และคณะ. (2554). โครงการวิจัยเรื่อง บทบาทของระบบการเงินระดับฐานรากในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน : รายงานฉบับสมบูรณ์. งานวิจัยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://www2.fpo.go.th/e_research/ebook/pdf_file/1341904751.pdf

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ และคณะ "รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาและจัดทำเครื่องมือประเมินตนเองขององค์กรการเงินฐานรากเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการการเงินและสวัสดิการชุมชน ระยะที่ 2" สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก
http://fringer.org/sites/default/files/report/microfinance-phase2.pdf

ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย.  (2557) "การส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงของธนาคารแห่งประเทศไทย".  สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก http://www2.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=5722

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. (2561, 7 กุมภาพันธ์).  รม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. …. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และลดจำนวนหนี้นอกระบบ. ค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNECO6102070010003

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). การรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ สถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก http://www.fpo.go.th/main/getattachment/Draft-Law/Draft-law-is-in-between-Public-hearing/7918/CNT0018941-2.pdf.aspx

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://www.fpo.go.th/main/getattachment/Draft-Law/Draft-law-is-in-between-Public-hearing/7918/CNT0018941-1.pdf.aspx

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). สรุปการวิเคราะห์ผลกระทบการเสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. .... สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://www.fpo.go.th/main/getattachment/Draft-Law/Draft-law-is-in-between-Public-hearing/7918/CNT0018941-3.pdf.aspx

สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2559) "แผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 – 2564". ข่าวกระทรวงการคลัง. 149 (2559).  สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก https://www.mof.go.th/home/Press_release/News2016/149.pdf

สุทธาสินี อาภากร ณ อยุธยา และคณะ. (2560). โครงการวิจัย แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง และระบบการกำกับดูแลระบบการเงินระดับฐานราก. งานวิจัยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561 จาก http://www2.fpo.go.th/e_research/ebook/pdf_file/1510629263.pdf

อัจจนา ล่ำซำ, โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และชนกานต์ ฤทธินนท์ (2561). "บริการทางการเงินของประเทศไทย: มุมมองเชิงพื้นที่จากข้อมูลจุดพิกัดกว่า 300,000 จุดทั่วประเทศ". บทความวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เสนอใน aBridge, ฉบับที่ 3/2561 (21 ก.พ. 2561). สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2018/03/aBRIDGEd_2018_003.pdf

เอม เจริญทองตระกูล และคณะ. (2558). นวัตกรรมในการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน : แผนที่การเข้าถึงบริการทางการเงินระดับฐานราก. ผลงานวิชาการเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก http://www2.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?contentfileID=9570

Other Useful Links

Joshi, Deepali Pant. (2011). "Financial inclusion".  (Speech by Dr Deepali Pant Joshi, Executive Director of the Reserve Bank of India, at the Vth Dun & Bradstreet Conclave on Financial Inclusion, Kolkatta, 28 October 2013). Retrieved April 2, 2018, from https://www.bis.org/review/r131030f.pdf

Lewis, Robin, Villasenor, John, and West, Darrell M. (2017). The 2017 Brookings Financial and Digital Inclusion Project Report. Retrieved April 2, 2018, from https://www.brookings.edu/wp-content/uploads/2017/08/fdip_20170831_project_report.pdf

Russia Financial Literacy and Education Trust Fund. (2013). Financial literacy and inclusion: Results of OECD/INFE survey across countries and by gender. Retrieved April 2, 2018, from https://www.oecd.org/daf/fin/financial-education/TrustFund2013_OECD_INFE_Fin_Lit_and_Incl_SurveyResults_by_Country_and_Gender.pdf

UNCDF. (2016).  Financial inclusion. Retrieved May 3, 2018, from http://www.uncdf.org/financial-inclusion

World Bank. (2017). "Financial Inclusion : Overview" Retrieved  April 2, 2018 form http://www.worldbank.org/en/topic/financialinclusion/overview

World Bank. (2017). The Global Findex database. Retrieved  April 2, 2018 form http://globalfindex.worldbank.org/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 (2559-2563). สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2561 จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/FSMP3/FinancialSectorMasterPlanIII.pdf

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานผลสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือน ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561 จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/FSMP2/FinancialAccessSurveyOfThaiHouseholds_2016.pdf

ศศิวิมล ถาวรพงษ์สถิต. (2555). ปัญหาการเข้าถึงการเงินฐานราก (Microfinance) ของประชาชน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ คณะนิศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561 จาก http://digi.library.tu.ac.th/thesis/la/1950/title-biography.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2561 จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
---------------------------------

วันที่จัดทำ: 20180504

ลงทะเบียนรับข่าวสาร
ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร
ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้